Page 396 - kpi15476
P. 396

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   395


                                ศึกษาทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษและการฝีมือ ตลอดจนขนบธรรมเนียมและ
                                พุทธศาสนา เพราะทรงเติบโตได้รับการอบรมมาในวังของสมเด็จพระศรีพัชรินทร์

                                พระพันปีหลวงเป็นพื้นฐานที่ดีมากอยู่แล้ว เมื่อเสด็จไปรักษาพระองค์ครั้งแรกที่ฝรั่งเศส
                                จึงโปรดให้สมเด็จพระราชินีตามเสด็จด้วย เมื่อรักษาพระองค์หายแล้ว ได้ทรงมีพระราช
                                หัตถ์เลขาขอพระบรม-ราชานุญาต ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เพื่อ

                                พระองค์จะได้ทรงศึกษาต่อหลักสูตรนายทหารระดับสูงของฝรั่งเศสและเพื่อให้พระราชินี
                                ได้ศึกษาในฝรั่งเศสเพิ่มเติมด้วย โดยทรงขอรับที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายจากพระราชทรัพย์

                                ส่วนพระองค์เองเพื่อไม่เป็นภาระงบประมาณแผ่นดิน

                                อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษ คือ การที่ได้ทรงตั้ง “กลุ่มมหาวิทยาลัย” สำหรับ

                                เจ้านายผู้หญิงที่เป็นพระราชธิดา 5 พระองค์ในจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
                                เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เจ้านายสตรีเหล่านี้ได้รับการ

                                ศึกษาในวังตามแบบเจ้านายผู้หญิงในยุคนั้น โดยมีครูพิเศษมาสอนภาษาไทย ภาษา
                                อังกฤษและภาษาฝรั่งเศสที่วังบางขุนพรหม โดยไม่เคยได้เสด็จออกไปศึกษาตามสถาบัน
                                ภายนอก รัชกาลที่7 ทรงมองเห็นศักยภาพทางสติปัญญาที่มีอยู่เต็มที่ของเจ้านายสตรี

                                กลุ่มนี้ซึ่งทรงเรียกอย่างเอ็นดูว่า “กลุ่มยูนิเวอรซิตี้” จึงได้ทรงตั้ง “วันยูนิเวอร์ซิตี้” ขึ้น
                                ทรงเชิญให้เจ้านายสตรีเหล่านั้นมาที่วังสุโขทัยทุกวันพฤหัส เพื่อร่วมโต๊ะเสวย

                                พระกระยาหารกับพระองค์และสมเด็จพระราชินี และร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนกับ
                                พระบรมวงศานุวงศ์ พระราชอาคันตุกะที่ทรงพระราชทานเลี้ยงที่วังในวันนั้นด้วย
                                หลังจากนั้นก็จะทรงฉายภาพยนตร์ประทานหรือจัดให้มีการบรรเลงดนตรี สำหรับวัน

                                อื่นๆ ก็โปรดอนุญาตให้เจ้านายกลุ่มนี้เสด็จมาทรงกีฬา เช่น เทนนิสและว่าน้ำที่วังของ
                                พระองค์ด้วย


                                ต่อมาเมื่อพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเยือนประเทศสิงค์โปร์และอินโดนีเซียในปี พ.ศ.
                                2472 ซึ่งสมเด็จพระราชินีได้โดยเสด็จด้วย พระองค์ได้ทรงเขียนจดหมายรายวัน

                                เล่าเหตุการณ์และสถานที่ต่างๆ ที่ได้ทรงพบเห็น เป็นการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับ
                                ประเทศเพื่อนบ้าน ทรงจ่าหน้าถึง “ยูนิเวอรซิตี้” และทรงหวังว่าเมื่อเสด็จกลับจะได้ทรง

                                ขอให้เจ้านายเหล่านั้นรวบรวมตรวจคำสะกดต่างๆ เพื่อทรงจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มแจกแก่
                                พระบรมวงศานุวงศ์ในวันครบรอบพระราชสมภพ แต่เกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการ
                                ปกครองขึ้นเสียก่อน จอมพลสมเด็จกรมพระนครสวรรค์วรพินิจถูกจับเป็นตัวประกันขัง

                                และต่อมาก็ต้องเสด็จออกนอกประเทศไปประดับที่บันดุงจนสิ้นพระชนม์ชีพในปี พ.ศ.
                                2487 โครงการนี้พิมพ์หนังสือเล่มนี้จึงหยุดไปและถูกลืมไป ส่วนพระบาทสมเด็จ

                                พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญและทรงยอมรับเป็นกษัตริย์ใต้
                                รัฐธรรมนูญ ต่อมาได้เสด็จไปรักษาพระองค์ที่ยุโรปและประทับต่อที่อังกฤษจน
                                สิ้นพระชนม์ที่อังกฤษ


                                จนกระทั่ง 20 ปีหลังจากนั้น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิ               เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                                กลับพระนครเมื่อปี พ.ศ. 2492 ทางราชการได้จัดพิธีต้อนรับเสด็จด้วย พระราชธิดาทั้ง
   391   392   393   394   395   396   397   398   399   400   401