Page 397 - kpi15476
P. 397

39      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                           5 พระองค์ในกรมพระนครสวรรค์ได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระเจ้าอยู่หัว
                           รัชกาลที่ 7 ได้ช่วยกันค้นหาต้นลายพระราชหัตถเลขาซึ่งกระจัดกระจายหายไปเพราะ

                           เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงในวังต่างๆ เมื่อได้ต้นฉบับก็นำมามาตรวจตราและจัดพิมพ์
                           จำนวน 3,500 เล่ม โดยได้ทรงเล่าเรื่อง “วันยูนิเวอร์ซิตี้” นี้ไว้ในคำนำของหนังสือที่ทรง
                           ลงพระนามพร้อมกันทั้ง 5 พระองค์ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในวันที่อัญเชิญพระบรมอัฐิ

                           เสด็จนิวัติพระนครเป็นครั้งสุดท้าย

                    3.3. การสร้างพื้นฐานสังคมในด้านวัฒนธรรม



                       พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดงานด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นส่วนพระองค์ ทรงมี
                  พื้นพระราชนิสัยโปรดการเล่นดนตรีมาตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนในอังกฤษ ดังที่พระอาจารย์ที่อีตัน

                  มีบันทึกรายงานไว้ เมื่อกลับมาจากอังกฤษก็ได้ทรงศึกษาการบรรเลงซออู้และซอด้วง โปรดให้
                  สมเด็จพระนางรำไพพรรณีและข้าราชบริพารในวังสุโขทัยร่วมวงเล่นด้วย สมเด็จกรมพระนคร
                  สวรรค์วรพินิตแห่งวังบางขุนพรหมนั้นได้ชื่อว่าเป็นวังที่มีคณะนักดนตรีไทยฝีมือเยี่ยมมากที่สุด

                  ซึ่งทรงสนิทสนมคุ้นเคยด้วยเนื่องจากเป็นพระเชษฐาองค์ใหญ่ต่างพระราชมารดาและเป็น
                  อภิรัฐมนตรีที่โปรดให้รักษาพระนครแทนเมื่อเสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ เมื่อมีการยุบกอง

                  สังคีตสังกัดสำนักพระราชวังเมื่อครั้งเศรษฐกิจตกต่ำก็ได้ทรงรับนักดนตรีจากที่นั่นมาทำงานดนตรี
                  ที่วังสุโขทัย โปรดให้ นำเพลงชุดโหมโรงต่างๆ โดยเฉพาะโหมโรงปี่พาทย์โบราณ มาจัดทำ
                  โน้ตสากลไว้ ทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทยเดิมไว้สองสามเพลงโดยดัดแปลงจากทำนองเดิม เช่น

                  ราตรีประดับดาว และเขมรลออองค์ เป็นต้น


                       แต่ผลงานในนับว่าเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานสังคมในด้านวัฒนธรรมที่สำคัญในสมัยรัชกาล
                  ที่ 7 นั้น ได้แก่ การตราพระราชบัญญัติต่างๆ ที่มีความก้าวหน้า ทันสมัย ที่ทำให้การดำเนินการ
                  ด้านวัฒนธรรมของไทยในหลายด้าน มีความเป็นสากลมากขึ้นหรือสอดคล้องกับมาตรฐาน

                  กฎหมายด้านวัฒนธรรมของโลก ทั้งนี้เนื่องจากหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งแล้ว ประเทศไทยได้เข้า
                  เป็นภาคีขององค์การระหว่างประเทศและภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศในด้านวัฒนธรรมหลาย

                  ด้าน จึงต้องมีการแก้ไขกฎหมาย หรือตรากฎหมายใหม่ให้สอดคล้องกัน ซึ่งพระบาทสมเด็จ
                  พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เร่งรัดให้ฝ่ายกฎหมายของพระองค์ดำเนินการให้เรียบร้อย กฎหมายที่
                  ออกมาในรัชกาลที่7 ที่สำคัญด้านวัฒนธรรม มีดังนี้


                    3.3.1  พระราชบัญญัติว่าด้วยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) กิจการ

                           ด้านพิพิธภัณฑ์ของไทยได้เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 และมีการพัฒนาต่อเนื่องมาใน
                           สมัยรัชกาลที่ 5 และที่ 6 ต่อมาในรัชกาลที่ 7 ได้จัดตั้งขึ้นเป็น “พิพิธภัณฑสถาน
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   พระราชประสงค์จะทรงบำรุงพิพิธภัณฑสถานให้สมเกียรติประเทศไทย จึงโปรดเกล้าฯ
                           สำหรับพระนคร” โดยได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร

                           พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) ประกาศเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2469 ทั้งนี้ทรงมี



                           ให้รวมการพิพิธภัณฑสถานเข้ากับหอพระสมุดสำหรับพระนคร ขึ้นเป็น “ราชบัณ-
                           ฑิตยสภา” และพระราชทานที่พระราชมนเทียรสถาน ตลอดทั้งบริเวณพระราชวังบวรฯ
   392   393   394   395   396   397   398   399   400   401   402