Page 399 - kpi15476
P. 399

39      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                           ต่อมาในปีพุทธศักราช 2444 มีการออกพระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่
                           ประชาชน เป็นการทั่วไป เพราะประกาศหอพระสมุดวชิรญาณนั้นไม่อาจใช้กับหนังสือ

                           อื่นๆได้ เรียกว่า “พระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ. 120” (พ.ศ. 2444)
                           เพื่อคุ้มครองและป้องกัน ผลประโยชน์ของผู้แต่งหนังสือโดยยึดถือตามกฎหมายของ
                           ประเทศอังกฤษในสมัยแรกๆ เป็นแบบ โดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับผู้มีกรรมสิทธิ์ใน

                           หนังสือเหมือนทรัพย์สินอย่างหนึ่งให้มีอำนาจที่จะพิมพ์ คัด แปล จำหน่ายหรือขาย
                           หนังสือ ที่ตนมีกรรมสิทธิ์นั้นได้แต่ผู้เดียว สาหรับผู้ที่จะได้กรรมสิทธิ์ใน หนังสือจะต้อง

                           นำมาให้เจ้าพนักงานจดลงทะเบียนภายใน 12 เดือน นับแต่ได้พิมพ์จำหน่าย ส่วน
                           รายละเอียดและวิธีการจดทะเบียนไม่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเนื้อหาของพระราชบัญญัติฉบับนี้
                           แม้ให้การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในลักษณะทั่วไป แต่ก็จำกัดอยู่เฉพาะในงานหนังสือเท่านั้น

                           มิได้ให้ลิขสิทธิ์แก่ งานวรรณกรรมหรือศิลปกรรมอื่นๆ ด้วย ทั้งยังจำกัดให้ลิขสิทธิ์
                           เฉพาะหนังสือที่พิมพ์ขึ้นในราชอาณาจักรเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์จะเป็นความ

                           ผิดทางแพ่งเท่านั้นไม่มีความผิดทาง อาญา

                           ต่อมาในปีพุทธศักราช 2457 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2457 ได้มีการประกาศใช้

                           “พระราชบัญญัติ แก้ไขพระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ พ.ศ. 2457” เพื่อแก้ไข
                           และขยายความคุ้มครองไปถึง บรรดาครู ผู้แสดงปาฐกถา ผู้แต่งเรื่องราวต่างๆ


                           พระราชบัญญัติออกมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)
                           มีหลักการสำคัญอยู่ 4 ประการคือ

                           (1)  การเพิ่มประเภทสิ่งที่ได้รับความคุ้มครอง โดยขยายขอบเขตให้ครอบคลุมงาน
                               วรรณกรรม และศิลปกรรมซึ่งหมายรวมถึงการทำขึ้นทุกชนิดในแผนกวรรณคดี

                               แผนกวิทยาศาสตร์ และแผนกศิลปะ มิได้จำกัดอยู่เพียงหนังสือเท่านั้น
                           (2)  การคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ของต่างประเทศ
                           (3)  การยกเลิกแบบพิธีการได้รับความคุ้มครองเป็นการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของ

                               พระราช บัญญัติแก้ไขกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ พ.ศ. 2457 ที่ให้ความคุ้มครองโดย
                               ไม่ต้องไปจดทะเบียนหรือ แสดงข้อความสงวนลิขสิทธิ์ไว้แต่อย่างใดการกำหนดโทษ

                               ทางอาญา โดยบัญญัติว่าการกระทำอันเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์เป็น ความ
                               ผิดทางอาญาด้วย และปรากฏต่อมาว่าเป็นสภาพบังคับที่ทำให้พระราชบัญญัติฉบับ
                               นี้มีผลจึงอาจกล่าวได้ว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายลิขสิทธิ์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด

                               ฉบับแรกของ ประเทศไทย เพราะได้ขยายความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม
                               เกือบทุกประเภท รวมทั้ง วรรณกรรมและศิลปกรรมที่มีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของ
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย      (4) พระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 ใช้บังคับมาเป็น
                               ต่างประเทศอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีการกำหนดโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำละเมิด
                               ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยจงใจไว้เป็นครั้งแรก



                               เวลา 47 ปี จึง ได้มีการเสนอให้แก้ไขปรับปรุง จนเมื่อปี พ .ศ. 2521 ได้มีการ
                               ประกาศใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ ชื่อว่า “พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521” และ

                               ยกเลิกพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 โดยสิ้นเชิง
   394   395   396   397   398   399   400   401   402   403   404