Page 398 - kpi15476
P. 398

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   39


                                (วังหน้า) ให้จัดเป็นพิพิธภัณฑสถานและหอพระสมุดสำหรับพระนคร สำหรับ
                                “ราชบัณฑิตยสภา” นั้นได้ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2469 ตามประกาศ

                                ตั้งราชบัณฑิตยสภา ซึ่งมีหน้าที่เป็น 3 แผนกคือ 1) แผนกวรรณคดี เป็นพนักงาน
                                จัดการหอพระสมุดสำหรับพระนครและสอบสวนพิจารณาวิชาอักษรศาสตร์ 2) แผนก
                                โบราณคดี เป็นพนักงานจัดการพิพิธภัณฑสถาน ตรวจรักษาโบราณวัตถุสถาน และ

                                3) แผนกศิลปากร เป็นพนักงานจัดการบำรุงรักษาวิชาช่าง


                                กิจการพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ได้ดำเนินการเรื่อยมาจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลง
                                การปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 จึงได้มีการปรับเปลี่ยนสังกัดของพิพิธภัณฑสถาน
                                สำหรับพระนคร โดยในปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้น โดยให้สังกัด

                                อยู่กระทรวงธรรมการ ส่วนพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครนั้น ได้ถูกจัดให้เป็น
                                หน่วยงานในสังกัดภายใต้ชื่อของต้นสังกัดว่า “กองพิพิธภัณฑ์และโบราณคดี” ต่อมาจึง

                                ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กองพิพิธภัณฑ์และโบราณวัตถุ” และได้เปลี่ยนอีกครั้งเป็น
                                “กองโบราณคดี” โดยมีหน้าที่ดำเนินงานพิพิธภัณฑสถานและดูแลโบราณสถานทั่ว
                                พระราชอาณาจักร [26]


                        3.3.2.  พระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรม และศิลปกรรมใน พ.ศ.2474 ในรัชกาลที่ 7

                                มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ .ศ. 2474”
                                ด้วยเหตุที่ประเทศไทยได้เข้าร่วม เป็นภาคีในอนุสัญญาเพื่อการคุ้มครองวรรณกรรม
                                และศิลปกรรมระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำขึ้น ณ กรุงเบอร์น จึงต้องทำการปรับปรุง

                                กฎหมายให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความผูกพันที่มีอยู่ตามอนุสัญญาเบอร์น ค .ศ.
                                1886 ฉบับแก้ไข ณ กรุงเบอร์ลิน (Berlin Act 1908) ซึ่งเป็น อนุสัญญาว่าด้วยการ

                                คุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ของต่างประเทศ การประกาศใช้พระราชบัญญัติ ฉบับนี้มีผล
                                ยกเลิกพระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ. 120 และพระราชบัญญัติแก้ไข
                                พระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ พ.ศ. 2457 ซึ่งมีมาแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดย

                                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงร่วมกับ สมเด็จพระเจ้า
                                ลูกยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกเธอ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่

                                หัว สร้าง “หอพระ สมุดวชิรญาณ” และทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตตาม
                                “กรรมสัมปาทิกสภา” คณะกรรมการ บริหารหอพระสมุดกราบบังคมทูลความที่ได้
                                ประชุมตกลงกันว่า “เมื่อตั้งหอพระสมุดได้ 8 ปี ควร เอาข้อความจากหนังสือวชิรญาณ

                                วิเศษไปตีพิมพ์เย็บเป็นเล่ม หรือคัดเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปตีพิมพ์ ต้องให้กรรมสัมปาทิก
                                สภาอนุญาต” ในปี พ.ศ. 2435 จึงได้ออก “ประกาศหอพระสมุดวชิรญาณ ร.ศ. 111

                                (พ.ศ. 2435)” ลงวันที่ 20 กันยายน 2435 มีความสำคัญว่า “ตั้งแต่นี้ต่อไป ห้ามมิให้
                                ผู้ใดเอาเรื่องความต่างๆ ที่ได้ลงพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณวิเศษแล้วแต่ปีก่อนๆ และปีนี้
                                ทั้งปีต่อไปไปพิมพ์เป็นหนังสือเล่มหรือหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด นอกจากที่ขออนุญาต

                                ต่อกรรมสัมปาทิกสภาได้แล้วนั้นเป็นอันขาด”                                                 เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
   393   394   395   396   397   398   399   400   401   402   403