Page 400 - kpi15476
P. 400
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 399
3.3.4. พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 ซึ่งมิได้บัญญัติถึงว่าห้ามการรับ
จดทะเบียนเครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป
ไว้เลย ดังนั้นจึงต้องถือเอามาตรา 5 ที่บัญญัติว่า ในเครื่องหมายการค้าหรือส่วนแห่ง
เครื่องหมายการค้านั้น ท่านห้ามมิให้ใช้เครื่องหมายอย่างใดๆ อันขัดต่อรัฐประศาสโนบาย
หรือศีลธรรม มาใช้ในการปฏิเสธการรับจดทะเบียน ซึ่งแม้จะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงก็ตาม
ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาและคำวินิจฉัยคณะกรรมการเครื่องหมาย
การค้าไว้หลายเรื่องด้วยกัน
3.3.5. โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย
พ.ศ.2473 และ ทรงริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับรองบุตร
อันเป็นการปลูกฝังค่านิยมใหม่ทีละน้อยตามความสมัครใจ นอกจากนี้ยังทรงปฏิบัติตน
เป็นแบบอย่างโดยมีพระบรมราชินีเพียงพระองค์เดียว และไม่มีสนมนางในใดๆ ทั้งสิ้น
3.3.6. โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ.2473
ใช้เวลานานถึงสองปีกว่าจะมีผลบังคับเพราะทรงตระหนักว่าจะมีผลกระทบกระเทือน
ประเพณีไทยที่มีมาแต่เดิม จึงทรงใช้วิธีให้เวลาในการสร้างความเข้าใจก่อน พระราช
บัญญัติฉบับนี้ระบุให้มีการจดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหย่า และจดทะเบียนรับรอง
บุตร เพื่อทดแทนธรรมเนียมดั้งเดิมเป็นครั้งแรกในสังคมไทย นอกจากนี้ พระองค์เอง
ก็ทรงเป็นแบบอย่างในการสร้างค่านิยมให้ชายไทยมีภรรยาเพียงคนเดียว โดยมี
พระบรมราชินีเพียงพระองค์เดียว และไม่มีสนมนางในใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลง
รูปแบบของสังคมไทยแต่โบราณ ทรงอภิเษกสมรสโดยมีการจดทะเบียนสมรสด้วย อันเป็นการ
ปลูกฝังค่านิยมใหม่ทีละน้อย ทั้งนี้ทรงส่งเสริมตามความสมัครใจของชายหญิง
4. การวางพื้นฐานในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับ
ชนกลุ่มต่างๆ ในประเทศ และการสร้างความสัมพันธ์ไมตรี
อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านและกับประเทศต่างๆ ในโลก
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการเสริมสร้างความ
เข้าใจอันดีกับชนกลุ่มต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ
ให้เจริญงอกงามมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นนโยบายที่ได้ดำเนินมาตั้งแต่สมัยรัชการที่ 5 แล้ว แต่ในสมัย
รัชกาลที่ 7 นั้น โลกได้เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วมากขึ้น ทรงเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างความ
เข้าใจซึ่งกันและกันบนพื้นฐานของการยอมรับซึ่งกันและกันมากขึ้น ดังจะเห็นจากการเสด็จทรง
พบปะเยี่ยมเยียนชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ในคราวเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดในภาคเหนือและ
ภาคใต้ เช่น ทรงโปรดให้ ชาวลั้ว ในภาคเหนือเข้าเฝ้าพระราชทานพระราชดำรัสให้อยู่ร่วมกับ
ชนกลุ่มอื่นด้วยดี ทรงเยี่ยมชุมชนและโรงเรียนของชาวจีนและของมิชชันนารีและทรงให้กำลังใจ
เป็นต้น นอกจากนี้ ในโอกาสวันฉัตรมงคล ก็จะมีพระราชดำรัสต่อทูตานุทูตและผู้แทนการค้า เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
ต่างประเทศที่มาเฝ้าถวายพระพรในวโรกาสวันฉัตรมงคล โดยทรงเน้นว่าเมื่อประเทศสยามได้