Page 401 - kpi15476
P. 401

400     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  แก้ไขสนธิสัญญาไมตรีกับประเทศต่างบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันแล้วก็จะนำไปสู่ความ
                  สัมพันธ์ที่ยั่งยืนในอนาคต ทรงรับรองพระราชอาคันตุกะ เช่น สมเด็จพระยุพราชจากเดนมารก

                  ระพินทร์นาถ ฐากูร มหาราชาแห่งรัฐคะปุตะละ และผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ เช่น
                  คณะกรรมการนานาชาติ เรื่องฝิ่นที่มาเยือนสยามด้วยพระราชอัธยาศัยไมตรีที่ดี

                   4.1 การเสด็จพระราชดำเนินประเทศเพื่อนบ้าน (กลุ่มประเทศอาเซียนใน

                       ปัจจุบัน)



                    4.1.1  การเสด็จพระราชดำเนินสิงคโปร์ ชวา และบาหลี ในกรกฎาคม 1929 ได้เสด็จ
                           พระราชดำเนินประเทศสิงคโปร์ ชวาและบาหลีซึ่งขณะนั้นอยู่ในปกครองของอังกฤษ
                           และดัชท์ตามลำดับ ในการนี้ได้ทรงเชื่อมความสัมพันธ์ทั้งกับตัวแทนรัฐบาลอังกฤษและ

                           ดัชท์ ซึ่งไทยได้แก้ไขสนธิสัญญาไมตรีด้วยแล้ว และทั้งกับหัวหน้าชุมชนเจ้าของประเทศ
                           เดิมในท้องถิ่นที่เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมด้วยทรงสนพระทัยดูงานทั้งในด้านการ

                           จัดการปกครองแบบสมัยใหม่ของตะวันตก และดูงานสถาบันพัฒนาพื้นฐานทางสังคม
                           แบบตะวันตก เช่นโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยทางการแพทย์ กิจการกองทัพเรือ
                           โครงการเกษตรและประมง และทั้งการเสด็จทรงสำรวจภูมิประเทศ และเยี่ยมชม

                           โบราณสถานสำคัญทางวัฒนธรรมในชวาและบาหลี ซึ่งปัจจุบันได้รับย่องย่องเป็นมรดก
                           โลกของยูเนสโกแล้ว


                           ในการเสด็จพระราชดำเนินดังกล่าว ได้ทรงสร้างผลงานที่เป็นมรดกความทรงจำที่สำคัญ

                           คือ ได้ทรงถ่ายภาพนิ่งขาวดำ และภาพยนตร์ ไว้ตลอดเส้นทางทั้งที่ทรงถ่ายเองและเป็น
                           ฝีมือของคณะผู้ติดตาม ภาพเหล่านี้มีความสำคัญเนื่องจากสะท้อนวิถีชีวิต และสภาพ
                           ภูมิประเทศและโบราณสถานเมื่อปี ค.ศ. 1929 ซึ่งบัดนี้ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก


                    4.1.2. การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศอินโดจีนของฝรั่งเศส ในเดือน พฤษภาคม -
                           มิถุนายน 1930 ประเทศอินโดจีนในความคุ้มครองของฝรั่งเศสนั้น นับเป็นหนามยอก

                           ของสยามมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่หลังจากที่ไทยได้เข้าร่วมสงครามกับอังกฤษและ
                           ฝรั่งเศสและได้เจรจาแก้ไขสัญญาไมตรีที่ทำไว้อย่างไม่เป็นธรรมได้แล้ว ทรงเห็นว่า

                           ควรจะเสด็จเยือนอินโดจีนเพื่อกระชับความสัมพันธ์กับตัวแทนอาณานิคมฝรั่งเศสในอิน
                           โดจีนในยุคใหม่ และเพื่อเยี่ยมเยียนหัวเมืองต่างๆและพบปะผู้คนของเวียดนาม และ
                           กัมพูชาด้วย อย่างไรก็ตามในยุคนั้น ก็มีกลุ่มรักชาติญวนดำเนินการใต้ดินและก่อการ

                           วินาศกรรมอยู่เนืองๆ การเสด็จพระราชดำเนินจึงมีอุปสรรคอยู่บ้างแต่พระบาทสมเด็จ
                           พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงวิตกกังวลมากนัก
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย       ในการนี้ทรงเยี่ยมสถานที่สำคัญในนครไซ่ง่อน เช่น สถาบันปาสเตอร์ วิทยาลัยศิลปะ




                           พิพิธภัณฑ์ วัดญวน สวนพฤกษ์ศาสตร์ สวนสัตว์ โรงพยาบาล ตลาด โรงเรียนจีน-
                           ฝรั่งเศส และยังทรงจัดการแข่งขันฟุตบอลเชื่อมสัมพันธ์ไทย- เวียดนามอีกด้วย แล้ว
                           เสด็จต่อไปยังนครเว้ เมืองนาตรัง และเมืองดาลัตบนภูเขา โดยได้เสด็จไปพระราชวัง

                           พระจักรพรรดิที่นครเว้ แต่พระจักรพรรดิเบาได๋ได้ถูกส่งไปเลี้ยงดูอบรมที่ฝรั่งเศสแล้ว
   396   397   398   399   400   401   402   403   404   405   406