Page 402 - kpi15476
P. 402
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 401
โปรดให้พระราชินีรำไพพรรณีเสด็จเข้าไปเยี่ยม พระราชมาดาของพระจักรพรรดิใน
พระตำหนักฝ่ายใน และเสด็จทรงเยี่ยมหลุมฝังศพจักรพรรดิองค์ก่อนๆ ซึ่งก่อสร้างใหญ่
โตสวยงาม นครเว้ในยุคที่เสด็จพระราชดำเนินทรงเยือนนั้น ยังมีพระบรมวงศานุวงศ์
เวียดนามอยู่และยังมีสวยงามความสมบูรณ์อยู่มาก แต่ต่อมาหลังจากนั้น เว้ได้เป็นสมร
ภูมิรบกับฝรั่งเศสและกับอเมริกาจนถูกทำลายลงเกือบหมด ปัจจุบันได้อนุรักษ์ฟื้นฟูจน
ได้รับยกย่องเป็นมรดกโลก ที่นครเว้และเมืองใกล้เคียงได้ เสด็จวิทยาลัยและพิพิธภัณฑ์
มรดกของชนชาติจาม สถาบันทางสมุทรศาสตร์ วัดจามโบราณที่โปนาการ์ น้ำตก
เยี่ยมชนเผ่ามอยที่ดาลัตและสวนผลไม้และฟาร์มของฝรั่ง ตลอดจนโรงงานทำน้ำปลา
ญวนด้วย
ต่อจากเวียดนามได้เสด็จพระราชดำเนินเขมรต่อเนื่องไปยังเขมร โดยได้โปรดให้พระเจ้า
มณีวงศ์แห่งเขมรเข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ที่ไซ่ง่อนก่อน การเสด็จเขมรนั้น ทรง
เยี่ยมชมโบราณสถานสำคัญ คือ นครวัต นครธม ซึ่งปัจจุบันได้รับการอนุรักษ์และ
ได้ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกแล้ว จากนั้นเสด็จต่อไป กำปงจาม กำปงธม พนมเปญและ
พระตะบอง ระหว่างเสด็จได้เกิดอุบัติเหตุรถยนต์ทำให้นางสนองพระโอษฐ์ในคณะ
ซึ่งเป็นภรรยาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ถึงแก่เสียชีวิต จึงโปรดให้งดการเลี้ยงรับรองและ
เสด็จกลับพระนครผ่านทางอรัญประเทศ
การเสด็จทรงเยือนประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ในปกครองของรัฐบาลอาณานิคมตะวันตก
ในขณะนั้น นับว่ามีความสำคัญในการวางพื้นฐานด้านสัมพันธไมตรีกับเพื่อนบ้านในยุค
สมัยใหม่ การที่ทรงบันทึกภาพและภาพยนตร์เหตุการณ์และสถานที่สำคัญๆ ไว้ไว้อย่าง
สมบูรณ์ตลอดการเสด็จพระราชดำเนินทรงเจริญสัมพันธไมตรีนั้น ก็มีคุณค่ามาก
สำหรับมรดกความทรงจำของอาเซียนด้วย
4.2. การสร้างเจริญสัมพันธไมตรีกับสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
ในปีระหว่างเดือนเมษายนถึงตุลาคม 1931 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ
เป็นการส่วนพระองค์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อทรงรับการผ่าตัดต้อกระจกพระเนตรข้างซ้าย
ซึ่งในขณะนั้นแพทย์ในประเทศไทยยังไม่สามารถผ่าตัดได้ โดยทรงประทับพักฟื้นอยู่ที่บ้านที่ทรง
เช่าที่มลรัฐแมรี่แลนด์ ทรงถือโอกาสดูงานความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ และทรงรับเชิญไปใน
ราชการที่ทางสหรัฐจัดขึ้น เช่น เสด็จไปพบประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ เสด็จไปนครนิวยอร์ค
ซิตี้ฮอลล์และทรงรับกุญแจทองของเมือง เสด็จไปทรงรับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์สาขากฎหมายจาก
มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ทรงประทานสัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนอเมริกันเกี่ยวสตรีไทยในยุคใหม่
และการที่วางแผนจะพระราชทานรัฐธรรมนูญด้วย
ในการเสด็จเยือนอมริกานี้ ได้ทรงจ้างนาย เรย์มอนด์ บี. สตีเวนที่ปรึกษาทั่วไปของรัฐบาล
ให้ดูแลเรื่องการประสานกับสื่อมวลชนอเมริกาเพื่อจะได้สื่อสารภาพพจน์ของประเทศและ
ประชาชนชาวไทยให้ประชาชนชาวอเมริกันรู้จักด้วย เพราะโดยทั่วไปคนอเมริกันยังไม่รู้จัก เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
ประเทศไทย แม้ว่า ไทยกับสหรัฐฯ จะมีความสัมพันธ์กันมาตั้งต้นศตวรรษที่ 19 เริ่มจากทางด้าน