Page 403 - kpi15476
P. 403
402 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
การค้าก่อน และในปี 1833 จึงมีการจัดทำสนธิสัญญาด้านการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯในช่วงสมัย
รัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงที่ไทยเริ่มเปิดประเทศมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็น
ทางการ สหรัฐฯ จึงได้มาจัดตั้งสถานทูตในไทยครั้งแรกในปีนั้น สหรัฐฯ ถือว่าเป็นมหาอำนาจใหม่
ที่เข้ามามีบทบาทในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งไทยก็ต้องการจะให้เข้ามาคานอำนาจอังกฤษกับฝรั่งเศส
จึงได้มีการจัดทำสนธิสัญญายกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในปี 1920 กับสหรัฐฯ เป็นชาติแรก
ที่เรียกว่า “Treaty of Friendship, Commerce and Navigation” ซึ่งได้กลายเป็นแม่แบบที่ไทยได้
ใช้ในการเจรจากับประเทศยุโรปอื่นๆ ในการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และสนธิสัญญา
ต่างๆ ที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน
ในโอกาสที่เสด็จฯ อเมริกานั้น พระองค์ได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์ทรงเยือนประเทศ
แคนาดาซึ่งมีชายแดนตอนใต้ติดกับสหรัฐอเมริกา แต่ก็ทรงได้รับการรับรองในฐานะแขกของ
รัฐบาลที่กรุงอ้อตตาวาด้วย ทรงใช้เวลาเยี่ยมชมสถานที่ทางธรรมชาติและสังสรรค์และเล่นกีฬากับ
ประชาชน
ขณะที่เดินทางโดยเรือเดินสมุทรกลับประเทศไทยนั้น ได้ทรงแวะที่นครเซี่ยงไฮ้เพื่อเดินทาง
ต่อไปยังประเทศญี่ปุ่น ทรงร่วมพิธีฉลองวันวิสาขะบูชาที่สวนฮิบายาในโตเกียวและเสด็จไป
นมัสการพระพุทธรูปสำริด (Bronse) ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าไดบุตสุด้วย ทรงแสดงให้ชาวญี่ปุ่นเห็น
ว่าคนไทยก็เป็นชาวพุทธเหมือนกันโดยไม่ทรงถือความแตกต่างระหว่างนิกายของพุทธศาสนาใน
ไทยและในญี่ปุ่น หลังจากนั้นเสด็จไปเฝ้าพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตที่พระราชวัง ทรงรับเครื่องราชย์
สูงสุดของญี่ปุ่นในโอกาสนี้ด้วย
4.3. การเจริญความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในยุโรป
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 (1932) พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7
ได้ทรงเจรจาตอบคณะผู้ก่อการด้วยเหตุด้วยผล ทรงยอมรับที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้
รัฐธรรมนูญคงเป็นสิ่งที่ทรงเตรียมการไว้แต่ยังไม่สำเร็จ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทาน
รัฐธรรมนูญไปแล้ว แต่ยังทรงมีความเห็นส่วนพระองค์หลายประการที่ไม่สอดคล้องกับคณะราษฎร
ในช่วงนั้น ทรงต้องเสด็จไปทำการรักษาพระเนตรอีกครั้งหลังการผ่าตัด ครั้งนี้ทรงเลือก
เสด็จไปรักษาที่อังกฤษเพื่อถือโอกาสฟื้นฟูและเจริญสัมพันธไมตรีกับ 9 ประเทศในยุโรปและเพื่อ
สังเกตการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลัง The great depression ตลอดจนการพัฒนาทางการเมืองและ
ประชาธิปไตยด้วย เพราะครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เสด็จเยือนประเทศต่างๆ ในฐานะพระมหากษัตริย์
ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญที่เพิ่งสถาปนาขึ้นใหม่ในประเทศไทย ประเทศที่เสด็จเยือนในครั้งนี้ คือ
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย หลายฝ่าย รวมทั้งนักเขียนและปัญญาชน และทรงเสด็จชมการแสดงทางวัฒนธรรมหลายรายการ
อิตาลี รวมทั้งวาติกัน ฝรั่งเศส เดนมารค เยอรมนี เบลเยี่ยม เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี และ
สวิสเซอรแลนด์ ได้ทรงเฝ้าพระมหากษัตริย์ ประมุขของประเทศ หัวหน้ารัฐบาล ตลอดจนนักการเมือง
ทรงมั่งมั่นในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้การแก้ปัญหาและแนวทางการพัฒนาของ
ประเทศเหล่านั้นด้วยความสนพระทัย