Page 434 - kpi15476
P. 434
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 433
มีผู้แปลความหมายของธรรมราชาไว้หลากหลาย แม้กระทั่ง “พระมหากษัตริย์ผู้ทรงทำให้
ประชาชนสุขใจโดยธรรม” ซึ่งต้องมองย้อนไปหารากศัพท์แล้วอธิบายกลับไปมาด้วยคำถามและ
7
คำตอบอย่างมีพิธีรีตองว่า “เหตุที่ประชาชนมีความสุขใจก็เพราะพระมหากษัตริย์ทรงกอปรด้วย
ทศพิธราชธรรม เหตุที่ทรงมีทศพิธราชธรรมก็เพราะพระองค์ทรงเป็นธรรมราชา เหตุที่ทรงเป็น
ธรรมราชาก็เพราะทรงยึดมั่นในหลักธรรมของพระพุทธเจ้า”
พระพุทธทาสภิกขุ นักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงในทางพระพุทธศาสนาของไทย กล่าวว่า
“คำว่า ทศพิธราชธรรม เป็นธรรมสำหรับพระราชา ทำให้มหาชนร้องออกมาว่า พอใจ
พอใจ พอใจ ตามคำว่า ราชา ราชา ราชา ที่แปลว่า พอใจ ดังที่ได้เคยกล่าวมาแล้วว่า
คำพูดคำนี้เกิดมาอย่างนี้ ธรรมะเหล่านั้นเป็นธรรมะสำหรับมหาชน เพื่อจะได้ดำเนินตาม...
เช่นเดียวกับที่พบในอรรถกถาจักกวัตติสูตร ซึ่งเขียนว่าที่ชื่อว่า ราชา เพราะหมายความว่า
ทำให้ประชาชนรักด้วยสังคหวัตถุ 4 ที่ชื่อว่า จักรพรรดิ เพราะหมายความว่า ทำจักรให้
หมุนไป ที่ชื่อว่าธัมมิกะ เพราะหมายความว่า มีธรรมที่ชื่อว่า ธรรมราชา เพราะหมายความว่า
ทรงเป็นพระราชาด้วยธรรมนั่นเอง คือ ด้วยจักรรรดิวัตร 12 ประการ” 8
ดังนั้นในบทความวิจัยนี้ นอกจากผู้วิจัยจะใช้นิยาม “ธรรมราชา” ของราชบัณฑิตยสถาน
และของท่านพระพุทธทาสแล้ว ก็ยังยอมรับสาระสำคัญและประเด็นหลักในการจัดประชุมวิชาการ
ของสถาบันพระปกเกล้า (KPI Congress 15) ด้วย
การส่งเสริมคติธรรมราชา ผ่านศิลปวิทยาการและวัฒนธรรม
ในสมัยรัชกาลที่ 7
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี ทรง
ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2468-2477 ช่วงเวลา 9 ปีแห่งรัชสมัยของพระองค์ท่านถือเป็นระยะ
เวลาของการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญอย่างหลากหลายทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและเทคโนโลยี
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้านการรักษา
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชาติ อีกทั้งทรงใฝ่พระราชหฤทัยในด้านศิลปะวิทยาการ อาทิ
การสมโภชพระนคร 150 ปี การสร้างพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล การประกอบพระราชพิธี
9
สิบสองเดือน การสมโภชวัดสำคัญ การพิมพ์หนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็กเพื่อแจกใน
วันวิสาขบูชาและการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เป็นต้น
7 สาระสำคัญและประเด็นหลักในการประชุมกลุ่มย่อย KPI Congress 15 เรื่อง “ธรรมราชา” ห้องย่อยที่ 1,
หน้า 1
8 พุทธทาสศึกษา, “ธัมมิกสังคมนิยมของพุทธทาสภิกขุ” สืบค้นจาก www.buddhadasa.in.th เมื่อวันที่ 14
ตุลาคม 2556. เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
9 การสมโภชพระนคร 150 ปี เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักจักรวรรดิวัตร 12 ในข้อ 1) อนฺโตชนสฺมึ พลกายสฺมึ
ควรอนุเคราะห์คนในราชสำนัก และคนภายนอกให้มีความสุขไม่ปล่อยปละละเลย