Page 435 - kpi15476
P. 435

434     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                       การสืบสานและวางรากฐานทางศิลปวิทยาการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
                  ปรากฏอย่างชัดเจนโดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งราชบัณฑิตยสภาขึ้นในปี พ.ศ. 2469

                  เพื่อส่งเสริมการศึกษาความรู้ด้านต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิจิตรศิลป์ วรรณคดี และ
                  โบราณคดี และโปรดเกล้าฯให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งนายกสภา
                  เป็นพระองค์แรก และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงดำรงตำแหน่งอุปนายก

                  ราชบัณฑิตยสภา เพื่อจัดการหอพระสมุดสำหรับพระนคร และตรวจสอบพิจารณาวิชาอักษรศาสตร์
                  เพื่อจัดการพิพิธภัณฑสถาน สงวนรักษาโบราณวัตถุสถาน และเพื่อจัดการบำรุงรักษาวิชาช่าง

                  ผลงานของราชบัณฑิตยสภาเป็นผลดีต่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก
                  เช่น ดำเนินการค้นคว้า สำรวจ ขุดค้น บูรณะและขึ้นทะเบียนโบราณสถาน อันเป็นบทบาท
                  เริ่มแรกที่พัฒนาขึ้นมาเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมศิลปากรในปัจจุบัน การสอบค้นเอกสารโบราณ

                  การตีพิมพ์เผยแพร่ รวมทั้งริเริ่มส่งเสริมให้มีการประกวดเรียบเรียงบทประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและ
                  ร้อยกรอง เช่น มีการประกวดแต่งเรียงความ หนังสือสอนพุทธศาสนาสำหรับเด็กเพื่อแจกในวัน

                  วิสาขบูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จฯ
                  เปิดพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร และเปิดหอพระสมุดวชิรญาณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.
                  2469 สะท้อนให้เห็นถึงการตระหนักต่อความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมของชาติไทยในขณะนั้นว่า


                          “ข้าพเจ้ามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาเปิดพิพิธภัณฑสถานแลหอพระสมุดวชิรญาณ

                     ที่ได้จัดขึ้นใหม่ในวันนี้ เพราะเป็นอันว่าได้เห็นกิจการส่วนหนึ่งซึ่งข้าพเจ้าได้มอบให้
                     ราชบัณฑิตยสภาจัดการนั้น สำเร็จผลสมความประสงค์... พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของที่มีค่าควรดู
                     ควรชม...เป็นทางบำรุงปัญญา ความรู้ของมหาชน และจะได้เป็นสง่าแก่พระนครและเป็น

                     สาธารณประโยชน์ ตลอดจนชนต่างชาติก็จะได้ชมศิลปวัตถุของชาติไทยเป็นหนทาง
                     ประกาศเกียรติยศแลอารยธรรมของประเทศสยาม...”       10


                       ความเคลื่อนไหวที่สำคัญทางด้านศิลปวิทยาการในสมัยรัชกาลที่ 7 คือ การตรา “พระราช
                  บัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474” อันเป็นกฎหมายว่าด้วยการ

                  คุ้มครองลิขสิทธิ์ในวรรณกรรมและศิลปกรรมฉบับแรกที่มีขอบเขตกว้างขวางและสมบูรณ์ การที่
                  รัฐบาลในสมัยนั้นพิจารณาสมัครเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและ

                  ศิลปกรรมระหว่างประเทศ คือ อนุสัญญากรุงเบอร์นในอีก 1 เดือนต่อมานั้น นอกจากเพื่อให้
                  คนไทยได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ผลงานด้านวรรณกรรมและศิลปกรรมจากประเทศที่เป็นภาคี
                  อนุสัญญาฯ ดังกล่าวด้วยกันแล้วยังน่าจะเป็นการแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีวัฒนธรรมทาง

                  จิตใจสูง และมีความเจริญก้าวหน้าสมสมัย เช่นเดียวกับนานาอารยประเทศ


                       หลักฐานในพระราชนิพนธ์คำนำหนังสือเรื่องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขการปกครองแผ่นดินของ
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   แล้ว เมื่อ พ.ศ. 2470 ได้เตือนให้ชาวไทยตระหนักว่า สิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นควรมีการเปลี่ยนแปลง
                  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งรัชกาลที่ 7 โปรดให้พิมพ์ขึ้นเมื่อได้เสวยราชสมบัติ




                        บรรเจิด อินทุจันทร์ยง (บรรณาธิการ) ประมวลพระราชบรมราโชวาทและพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จ
                     10

                  พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง “พระราชดำรัสในการเสด็จฯเปิดพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร และเปิดหอพระสมุด
                  วชิรญาณ” ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469.กรุงเทพฯ : วัชรินทร์การพิมพ์, 2536 : 43.
   430   431   432   433   434   435   436   437   438   439   440