Page 438 - kpi15476
P. 438

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   43


                            ในรัชสมัยของพระองค์ แม้ว่าจะมิได้ทรงสร้างวัดประจำรัชกาล แต่ก็ถือว่า วัดราชบพิธสถิต
                      มหาสีมารามก็มีฐานะเปรียบเสมือนวัดประจำรัชกาล เนื่องจากทรงรับพระราชภาระปฏิสังขรณ์

                      วัดนี้มาเกือบโดยตลอด ในรัชกาลที่ 7 มีหลักฐานปรากฏว่าพระอุโบสถบนลานพระปฐมเจดีย์
                      ชำรุดทรุดโทรมมากยากที่จะบูรณะปฏิสังขรณ์ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นใหม่


                            นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
                      ปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา

                      โดยพระยาวรวงศาธิราช (คุณทอง) พระอัยกาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

                            พระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ทรงถือว่า วัดสุวรรณดารารามเปรียบเสมือน

                      วัดประจำพระราชวงศ์ ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้เขียน
                      ภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง พงศาวดารสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ที่พระวิหารหลวง โดยเขียน

                      เป็นภาพพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรตั้งแต่พระเยาว์จนเสด็จสวรรคต มีภาพยุทธหัตถีที่เป็น
                      ภาพเด่นอยู่เหนือประตูด้านหน้า ใช้เทคนิคการวาดแบบตะวันตกมาประยุกต์ใช้กับจิตรกรรม
                      ฝาผนังเป็นภาพสีน้ำมันเสมือนจริงทั้งหน้าตา ร่างกาย กล้ามเนื้อ สัดส่วน และเครื่องแต่งกาย

                      และเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามและแปลกใหม่สำหรับยุคนั้น นับเป็นภาพเล่าเรื่องที่มีคุณค่า
                      ปรากฏมาจนทุกวันนี้


                            จิตรกรผู้เขียนภาพพระราชกรณียกิจสมเด็จพระนเรศวรที่วัดสุรรณดาราราม จังหวัด
                      พระนครศรีอยุธยา คือ พระยาอนุศาสตร์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร)  และบุคคลสำคัญที่มีบทบาท
                                                                                    13
                      ในการกำหนดเรื่องราวในภาพจิตรกรรมข้างต้น คือ สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรง
                      ราชานุภาพ ผู้ทรงเป็นนายกสภาแห่งราชบัณฑิตยสภา      14


                            แม้ว่าเนื้อหากล่าวถึงพระราชกรณียกิจในสงครามเป็นหลัก แต่วิธีการเล่าเรื่องน่าสนใจยิ่ง

                      เพราะเป็นการเลียนแบบการจัดวางภาพจากเรื่องพุทธประวัติ โดยเริ่มจากพระสยามเทวาธิราช
                                                                                               15
                      อัญเชิญพระอิศวร แบ่งภาคจุติลงมาอุบัติบนโลกมนุษย์เป็นสมเด็จพระนเรศวร  และพระพักตร์
                      ของพระอิศวรนั้น กลับมีพระพักตร์คล้ายพระฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

                      เป็นอย่างยิ่ง ราวกับผู้ออกแบบภาพเขียนดังกล่าว มีความประสงค์จะประกาศสิทธิธรรมของ
                      พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเทียบเท่ากับสมเด็จพระนเรศวร หรือพระอิศวรเทพเจ้าผู้เป็น

                      ใหญ่สูงสุดหนึ่งในสามของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อันเป็นการรวมความหมายที่ผสมผสานทั้ง
                      เทวราชาและพุทธราชาเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนตามจารีตดั้งเดิมในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์








                         13   มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชา ไทยศึกษา สาขาวิชาศิลปศาสตร์ หน่วยที่ 10
                      เรื่อง ลักษณะสถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
                         14   กรมศิลปากร, พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก
                      พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2524) หน้า 453.                   เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                         15   เรื่องเดียวกัน, : 63.
   433   434   435   436   437   438   439   440   441   442   443