Page 436 - kpi15476
P. 436
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 435
อย่างค่อยเป็นค่อยไปและสร้างสรรค์เพื่อมิให้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเมือง ดังนี้
“...ควรพยายามแลดูการล่วงหน้า แต่ก็ควรเหลียวหลังดูประเพณี และหลักการที่ล่วง
ไปแล้วด้วยเหมือนกัน ใน 2 อย่างนี้ก็พอจะทำได้ มียากอยู่เพียงจะเลือกเวลาให้เหมาะ
อย่าให้ช้าเกินไป อย่าให้เร็วเกินไป ข้อนี้แหละยากยิ่งนัก นอกจากมีสติปัญญาแล้วยังต้องมี
โชคดีประกอบด้วย แต่ถ้าเราทำการใดๆ ไปโดยมีความสุจริตในใจและโดยเต็มความ
สามารถแล้ว ก็ต้องนับว่าได้พยายามทำการงานตามหน้าที่จนสุดกำลังแล้ว...” 11
การบูรณะปฏิสังขรณ์พระอาราม :
การส่งเสริม อนุรักษ์และสืบทอดศิลปวัฒนธรรม
คติธรรมราชา ถูกถ่ายทอดปลูกฝังอยู่ในคำสอนทางศาสนาและผลงานการสร้างสรรค์ทาง
ด้านศิลปวัฒนธรรมมาเป็นเวลานาน ในระดับราชสำนักคติธรรมราชาถูกถ่ายทอดในความหมาย
ของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรม ในระดับราษฎรคติธรรมราชามีปริศนาคำสอนและ
ความหมายแทรกอยู่ในจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติชาดกซึ่งเล่าถึงการบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่
แต่ละพระชาติของพระโพธิสัตว์อย่างสอดคล้องกับคติทศพิธราชธรรมจนแทบจะแยกไม่ออก ทั้งนี้
ผู้วิจัยเชื่อว่า เป็นกุศโลบายทางการเมืองที่ผู้ปกครองประสงค์จะให้ราษฎรคุ้นเคยและจำแนกได้ว่า
พระราชจริยวัตรที่ดีงามของพระมหากษัตริย์นั้นเป็นอย่างไร ความสอดคล้องของคติธรรมใน
ทศชาติชาดกที่แฝงอยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนังและหลักทศพิธราชธรรมปรากฏตารางต่อไปนี้
ตารางเปรียบเทียบทศบารมีกับทศพิธราชธรรม
ลำดับ ทศชาติชาดก ลำดับ ทศพิธราชธรรม ทศชาติฯ ทศพิธฯ
1 เตมีย์ชาดก- เนกขัมบารมี 1 ทาน-การให้ 10,3 1
(อดทน/ แน่วแน่)
2 มหาชนกชาดก-วิริยะบารมี 2 ศีล-การรักษาความสุจริต 6,8 2
(เพียรพยายาม)
3 สุวรรณสามชาดก-เมตตาบารมี 3 บริจาค-เสียสละ 10 3
4 เนมิราชชาดก-อธิษฐานบารมี 4 อาชีวะ-ซื่อตรงไร้มารยา 9 4
(รักษาความดี/ยึดมั่นความดี)
5 มโหสถชาดก-ปัญญาบารมี 5 มัทวะ-อ่อนโยน/ไม่ดื้อดึง 3 5
(มีปัญญา/รอบคอบ)
6 ภูริทัตชาดก-ศีลบารมี 6 ตปะ-ตัดกิเลส 5 6
(ถือศีล/ไม่โลภ)
11 ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, อ้างมาจากพระนิพนธ์ เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
ในพระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร : 5.