Page 437 - kpi15476
P. 437
43 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
ลำดับ ทศชาติชาดก ลำดับ ทศพิธราชธรรม ทศชาติฯ ทศพิธฯ
7 จันทชาดก-ขันติบารมี 7 อโกธะ-ไม่โกรธ 5,1 7
(ไม่โกรธ/ไม่อาฆาต)
8 นารทชาดก-อุเบกขาบารมี 8 อวิหิงสา-ไม่เบียดเบียน 6,7 8
(ทำดีได้ดี/ปล่อยวาง)
9 วิทูรชาดก-สัจจะบารมี 9 ขันติ-อดทนต่อความลำบาก 1,2 9
(ซื่อตรง)
10 เวสันดรชาดก-ทานบารมี 10 อวิโรธนะ-ความไม่คลาดจากธรรม 4 10
(บริจาค)
ทศบารมีเป็นพระบารมีที่พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญก่อนเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ
เมื่อตรัสรู้เป็นองค์พระสัมโพธิญาณแล้วจึงทรงประทานหลักธรรมของพระมหากษัตริย์ หรืออีกนัย
คือ หลักของผู้นำ หลักของผู้ปกครอง อันประกอบด้วย หลักทศพิธราชธรรม หลักจักรวรรดิวัตร
12 และหลักสังคหวัตถุ 4 ซึ่งในที่นี้ เห็นได้ชัดว่า ทศบารมีเป็นพื้นฐานของหลักทศพิธราชธรรม
อย่างชัดเจน
ในทัศนะของผู้วิจัย คติธรรมราชาอาจจำแนกได้เป็น 3 ระดับ ระดับสูง “ธรรมราชา” ใน
พระราชสถานะของกษัตริย์ผู้ทรงกอร์ปด้วยธรรมของพระเจ้าแผ่นดินได้แก่ ทศพิธราชธรรม
จักรวรรดิวัตรและสังคหวัตถุ 4 ระดับกลาง “ธรรมราชา” ในฐานะปรัชญาของผู้ปกครองหรือ
นักบริหาร หัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งต้องยึดหลักธรรมเช่นเดียวกัน และระดับล่าง “ธรรมราชา”
ในฐานะหลักธรรมของพ่อบ้านผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยามาแล้ว การสร้างพระอารามถือเป็นพระราชกรณียกิจ
สำคัญของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
การสร้างวัดถือเป็นพระราชกรณียกิจที่มีความสำคัญรองลงมาจากการส่งเสริมการศึกษาของชาติ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ การบูรณะปฏิสังขรณ์พระอาราม การส่งเสริม
อนุรักษ์และสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญที่ได้มีการฟื้นฟูอีกรัชสมัยหนึ่ง
ในรัชสมัยดังกล่าว แม้จะไม่มีการสร้างพระอารามหลวงขึ้นมาใหม่ เพราะทรงมีพระราชดำริว่า
ในรัชกาลต่างๆ ก่อนหน้านั้นได้สร้างวัดวาอารามไว้แล้วจำนวนมาก อย่างไรก็ดี ในการเตรียมงาน
สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 150 ปี ก่อน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการทำนุบำรุงและสืบทอดศิลปวัฒนธรรมของชาติด้วยการ
บูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ อาทิ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยรัฐบาลได้ใช้งบประมาณ จำนวน
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย 200,000 บาท เงินงบประมาณแผ่นดิน 200,000 บาท ส่วนที่ยังขาดนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
600,000 บาท ในการดำเนินการแบ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่ทรงอุทิศจำนวน
ให้มีคณะกรรมการดำเนินการเรี่ยไรจากพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร และประชาชนเพื่อให้
มีโอกาสบำเพ็ญกุศลร่วมกัน
12
สมุดภาพรัชกาลที่ 7. สถาบันพระปกเกล้า พิมพ์เป็นที่ระลึกในนิทรรศการอวดภาพและของหายากยุครัชกาล
12
ที่ 7, 2544.