Page 439 - kpi15476
P. 439
43 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
พระปฐมบรมราชานุสรณ์และสะพานพระพุทธยอดฟ้า:
การส่งเสริมคติธรรมราชาด้วยอนุสาวรีย์สาธารณะ
อนุสาวรีย์สาธารณะ (Public Monument) เป็นคำเรียกสถานที่สาธารณะประโยชน์สำคัญ
ในบริบททางศิลปะของโลกตะวันตก ได้แก่ สนามกีฬา โรงละคร ห้องอาบน้ำอุ่นสาธารณะ น้ำพุ
สาธารณะ สะพานข้ามแม่น้ำลำคลอง เป็นต้น
ในโอกาสสมโภชพระนคร 150 ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราช
ประสงค์จะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเชื่อมการคมนาคมระหว่างฝั่งตะวันออกกับฝั่ง
ตะวันตกให้มีความความสะดวกสบายมากกว่าเดิม แต่พระราชดำริดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุน
จากอภิรัฐมนตรีสภา เนื่องจากต้องใช้งบประมาณสูงถึง 4 ล้านบาท กระนั้นก็ตามพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่รัชกาลที่ 7 ทรงยืนยันพระราชประสงค์ดังกล่าว โดยได้พระราชทานพระราชทรัพย์
ส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง
หนังสือประชุมกฎหมายประจำศกบันทึกเรื่องการสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าว่า พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชปรารภถึงการสร้างสาธารณะประโยชน์โดยสละ
พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งว่า “... เมื่อถึงพุทธศักราช 2475 อายุของพระนครจะครบ
150 ปี เป็นอภิลักขิตมงคลสมควรจะมีการสมโภชพระนคร และสร้างสิ่งที่เป็นถาวรวัตถุเพื่อเตือน
ใจชาวสยามในภายหน้า จึงทรงปรึกษาแก่อภิรัฐมนตรีและเสนาบดีทั้งปวง ก็เห็นชอบในการสร้าง
2 สิ่ง ประกอบกัน คือ การสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ปฐม
บรมกษัตริย์แห่งพระราชจักรีวงศ์ และการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำทำทางถนนเชื่อมฝั่งพระนครให้
ติดต่อกับทางฝั่งธนบุรี เพื่อให้เป็นสาธารณประโยชน์ ในการสร้างครั้งนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์อุปนายกราชบัณฑิตยสภา
ผู้ทรงอำนวยการออกแบบทั้งพระบรมรูปและสะพาน พระราชทานพระนามว่า สะพานพระพุทธ-
ยอดฟ้า จำนวนเงินในการก่อสร้าง 4 ล้านบาทซึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงบริจาคจำนวน
ประมาณ 2 ล้านบาท รัฐบาลจ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือทรง
พระราชดำริให้บอกบุญเรี่ยไรจากชาวสยามทุกชาติทุกชั้นทุกบรรดาศักดิ์ตามกำลัง....” 16
พระราชนิยมด้านศิลปะการถ่ายภาพนิ่งและการถ่ายทำ
ภาพยนตร์: พระปรีชาด้านเทคโนโลยีของธรรมราชา
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ พระชนมายุได้ 12 พรรษา พระองค์ได้แสดงให้เห็นถึงพระปรีชา
สามารถในการถ่ายภาพ จากการที่ทรงได้รับพระราชทานรางวัลเหรียญทองแดง จากการทรงส่ง
ภาพถ่าย ชื่อ ภาพ “ตื่น” เข้าร่วมงานประกวดภาพถ่ายในงานประจำปีวัดเบญจมบพิตรเมื่อปี
16
กรมศิลปากร, ประกาศสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า จาก ประชุมกฎหมายประจำศกเล่มที่ 42 พ.ศ.
2472, 220-224.