Page 440 - kpi15476
P. 440

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   439


                                  17
                      พ.ศ. 2448  และเมื่อเป็นพระมหากษัตริย์แล้วก็ยังโปรดการถ่ายภาพและภาพยนตร์อย่าง
                      ต่อเนื่อง ถือเป็น “งาน” ของเชื้อพระวงศ์และชนชั้นสูงผู้มีการศึกษาสมัยนั้น 18


                            นับแต่นายเฮนรี่ อเล็กซานเดอร์ แม็กเรย์ (Henry Alexander McRay) แห่งฮอลลีวู้ด
                      เข้ามาสร้างภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ เมื่อปี พ.ศ. 2466 และนำออกฉายในสยามเรื่องแรก

                      ก็มีเสียงเรียกร้องจากผู้ชมภาพยนตร์ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2470 คณะศรีกรุงเป็นบริษัท
                      ภาพยนตร์ผู้สร้าง “โชคสองชั้น” ซึ่งถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย
                                                                                                19

                            ระยะแรกภาพยนตร์มีฐานะเป็นเทคโนโลยีบันทึกภาพเคลื่อนไหวพระราชกรณียกิจใน
                      พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อย่างไรก็ดี เมื่อทรงว่างจากพระราชกรณียกิจ พระบาท

                      สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานทั้งการถ่ายภาพนิ่งและการถ่ายทำภาพยนตร์ด้วย
                      ฝีพระหัตถ์พระองค์เอง นอกจากนี้ยังทรงสนับสนุนกิจการภาพยนตร์ด้วยความสนพระราชหฤทัย

                      โดยจัดตั้ง “สมาคมภาพยนตร์สมัครเล่นแห่งประเทศสยาม” ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2473
                      เพื่อส่งเสริมกิจการภาพยนตร์สมัครเล่นให้ก้าวหน้า แลกเปลี่ยนความรู้และประสานสามัคคีในกลุ่ม
                      ผู้สนใจภาพยนตร์สมัครเล่น สำนักงานตั้งอยู่ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ทั้งรัชกาลที่ 7 และ

                      สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ กิจกรรมสำคัญ
                      ของสมาคม ได้แก่ การจัดฉายภาพยนตร์ให้แก่สมาชิกชมทุกเดือน รวมถึงการจัดบริการต่างๆ

                      ได้แก่ การรับล้างฟิล์ม การพิมพ์สำเนาฟิล์ม การเผยแพร่ข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์
                      สมัครเล่นผ่านทาง “วารสารข่าว สภส.” (สมาคมภาพยนตร์สมัครเล่น) เป็นต้น


                            ภาพยนตร์ที่ทรงถ่ายมีทั้งเนื้อหาที่เป็นสารคดี อาทิ ภาพยนตร์เกี่ยวกับการเสด็จฯ ประพาส
                      โบราณสถานในมณฑลพายัพของสยาม อินโดจีนฝรั่งเศสและเกาะชวา ปัจจุบันภาพยนตร์ดังกล่าว

                      กลายเป็นมรดกความทรงจำอันล้ำค่าของอาเซียน เพราะได้บันทึกวัฒนธรรมประเพณี และ
                      สถานที่ท่องเที่ยว จำนวนมากของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้อย่าง
                      ละเอียด แม้แต่เจ้าของประเทศ อาทิ เวียดนามยังไม่เคยเห็นภาพยนตร์ดังกล่าว  และประสงค์จะ
                                                                                               20
                      ทำสำเนาเพื่อการศึกษาต่อไป ส่วนภาพยนตร์ที่ให้ความบันเทิงหนึ่งในจำนวนนั้น คือ ภาพยนตร์
                      เรื่อง “แหวนวิเศษ” ซึ่งได้ทรงเป็นผู้อำนวยการสร้างและกำกับการแสดงด้วยพระองค์เองจาก

                      การพระราชนิพนธ์บทภาพยนตร์ขึ้นในเรือพระที่นั่งจักรีระหว่างเสด็จประพาสทางทะเล
                      และโปรดเกล้าฯ ให้ถ่ายทำขึ้นที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นภาพยนตร์เงียบ เวลาฉาย
                      ทั้งเรื่องประมาณ 40 นาที นับเป็นพระมหากษัตริย์นักถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่นผู้บุกเบิกวงการ

                      ภาพยนตร์ไทย   21


                         17   ศักดา  ศิริพันธุ์, กษัตริย์ &กล้อง : วิวัฒนาการการถ่ายภาพในประเทศไทย พ.ศ. 2388-2535,
                      (กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, 2535), หน้า 1-6.

                         18   ศักดา ศิริพันธุ์, เรื่องเดิม. หน้า 1-6
                         19   โดม  สุขวงศ์. กำเนิดหนังไทย. (กรุงเทพฯ : มติชน, 2539), 2-3.
                         20   คำบอกเล่าของอาจารย์ สาวิตรี สุวรรณสถิตย์ ที่ปรึกษาพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
                      ในฐานะคณะกรรมการมรดกโลกประเทศไทย.                                                                  เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                         21   โดม สุขวงศ์. “มรดกภาพยนตร์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ” วารสารไทย ปีที่ 13 ฉบับที่ 49, พ.ศ. 2536.
   435   436   437   438   439   440   441   442   443   444   445