Page 441 - kpi15476
P. 441
440 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
พระราชนิยมในการภาพยนตร์ดังกล่าวมีผลต่อนโยบายของรัฐในการสนับสนุนส่งเสริม
การสร้างภาพยนตร์ไทย คือ มีการตราพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. 2473 ควบคุมการสร้าง
และการฉายภาพยนตร์ในราชอาณาจักร โดยเน้นนโยบายให้เป็นประโยชน์เพื่อการค้าโดยคนไทย
โปรดฯให้สร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ที่เป็นสถาปัตยกรรมทันสมัยที่สุดแห่งแรกของ
ประเทศ เพื่อเป็นอนุสรณ์ในวโรกาสฉลองพระนคร 150 ปีด้วย โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง
เริ่มสร้างเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ.
2476 ออกแบบโดย ม.จ.สมัยเฉลิม กฤดากร
22
การส่งเสริมกิจการวิทยุกระจายเสียงในสมัยรัชกาลที่ 7
กิจการวิทยุโทรเลข เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา
พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน(Purachatra Jayakorn) ขณะทรง
ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ทรงพัฒนาทั้งการรถไฟ
และการสื่อสาร ทรงทดลองการรับส่งวิทยุกระจายเสียง ที่วังบ้านดอกไม้ของพระองค์เองอยู่หลายปี
ทั้งได้ทรงตั้งกองช่างวิทยุขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2471 โดยทรงกระจายเสียงในนามสถานีวิทยุกระจายเสียง
“4 พี.เจ” และ “11 พี.เจ” ในเวลาต่อมา สถานีวิทยุกระจายเสียงได้ย้ายมาตั้งที่โฮเต็ลพญาไท
23
หรือพระราชวังพญาไทแต่เดิม (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า)ซึ่งยังอยู่กลางทุ่ง
พอสมควร พิธีเปิด “สถานีวิทยุกรุงเทพที่พญาไท” ตรงกับวันฉัตรมงคล (วันที่ 25 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2473) มีการถ่ายทอดพระราชดำรัสจากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ไปตามสายเข้าเครื่องส่ง
กระจายเสียงสู่ประชาชน ความว่า
“การวิทยุกระจายเสียงที่ได้เริ่มจัดขึ้นและทำการทดลองตลอดมานั้น ก็ด้วยความ
มุ่งหมายว่าจะส่งเสริมการศึกษา การค้าขาย และการบันเทิง แก่พ่อค้าประชาชน เพื่อ
ควบคุมการนี้ เราได้แก้ไขพระราชบัญญัติดังที่ประกาศใช้เมื่อเดือนกันยายนแล้ว และบัดนี้
ได้สั่งเครื่องกระจายเสียงอย่างดีเข้ามาตั้งที่สถานีวิทยุโทรเลขพญาไทเสร็จแล้ว เราจึงขอถือ
โอกาสสั่งให้เปิดใช้เป็นปฐมฤกษ์ ตั้งแต่บัดนี้ไป”
ต่อมาอีก 3 วัน ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินถึงสถานีวิทยุในเวลา 17.00 น. และในราชสำนักรัชกาลที่ 7 มีการใช้คำว่า
“วุ” แทนคำว่า “วิทยุ” เป็นการแสดงถึงความเอ็นดูเครื่องมือสื่อสารชนิดนี้ซึ่งพระองค์ทรงสดับเป็น
ประจำ 24
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย มติชน, 2547: 263.
22
ชาตรี ประกิตนนทการ, “การเมืองและสังคมในศิลปะสถาปัตยกรรม” ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ กรุงเทพฯ :
อักษรย่อพระนามของเสด็จในกรมฯ (Purachatra Jayakorn)
23
พฤทธิสาณ ชุมพล, ม.ร.ว. บทความเรื่อง “การพัฒนาการสื่อสารในสมัยรัชกาลที่ 7 ใน จดหมายข่าว
24
สถาบันพระปกเกล้า ปีที่ 10 ฉบับที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552. หน้า 5-6.