Page 169 - kpi17527
P. 169

ประชาธิปไตยไทยในทศวรรษใหม่             2559



               รวมถึงข้าราชการผู้ปฏิบัติงานซึ่งต้องเผชิญปัญหาและผลกระทบจากการบริหาร

               ราชการไทย ตระหนักถึงปัญหาเรื้อรังของระบบราชการและได้มีความพยายาม
               แก้ไขในส่วนที่สามารถทำได้ จนได้ในที่สุดต้องมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่ง
               ราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ. 2540 และได้มีการขยายความในรัฐธรรมนูญฯ

               ฉบับปี พ.ศ. 2550 โดยว่าการพัฒนาระบบราชการให้เป็นหน้าที่ของรัฐ นอกจากนี้
               มีการสร้างกลไกการตรวจสอบและการสร้างความเป็นธรรม เช่น ศาลปกครอง
               คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

               และประพฤติมิชอบ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เป็นต้น และยังกำหนดบริบท
               และแนวทางการบริหารงานของภาครัฐใหม่ๆ หลายประการที่เน้นหลักความ
               โปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการ และหลักการ

               กระจายอำนาจการบริหารการปกครอง  ให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนในการ
               บริหารจัดการ การกำหนดแนวทางและการตัดสินใจ การกำหนดเงื่อนไขและ
               กลไกการตรวจสอบนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเป็นธรรม ถ่วงดุลและ

               ตรวจสอบ วางมาตรการที่นำสู่การบริหารงานตามหลักความโปร่งใสและการมี
               ส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารภาครัฐ และหลักการกระจายอำนาจ  
                   1
               การบริหารการปกครองให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนในการบริหารจัดการ

               การกำหนดแนวทางและการตัดสินใจ

                     วิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในปี พ.ศ. 2540 เป็นบทเรียนที่ส่งสัญญาณ

               อีกครั้งถึงความอ่อนแอและด้อยประสิทธิภาพของระบบราชการในการกำกับดูแล
               และติดตามผลการดำเนินนโยบายด้านการเงินการคลังภายหลังการเปิดเสรี
               ทางการเงินดังเช่นภาครัฐในประเทศอื่นๆ เช่น ในประเทศฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย

               รัฐบาลและกระทรวงการคลังของทั้งสองประเทศได้กำหนดมาตรการในการ
               ควบคุมระดับการกู้เงินของภาคเอกชน ส่งผลให้ทั้งสองประเทศไม่ค่อยได้รับ
               ผลกระทบมากเท่ากับประเทศไทยและอินโดนีเซีย ซึ่งไม่ได้มีการดำเนินการ

               แต่อย่างใด ความผิดพลาดเหล่านี้เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาวิกฤต
               ในครั้งนั้น


                     ปัญหาต่างๆ ของระบบราชการไทยสะสมมานานและขาดการแก้ไขอย่าง
               จริงจังเป็นระบบ จนฝังรากเป็นวัฒนธรรมองค์กรและพฤติกรรมข้าราชการ และ
               ส่งสัญญาณผิดๆ แก่ข้าราชการรุ่นต่อๆ มาอย่างต่อเนื่อง จนถือเป็นวัฒนธรรมใน




                                                                               สถาบันพระปกเกล้า
   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174