Page 168 - kpi17527
P. 168
ประชาธิปไตยไทยในทศวรรษใหม่
2559
ไม่สามารถปรับเปลึ่ยนงบประมาณตามความต้องการได้อย่างคล่องตัว
ไม่สามารถบูรณาการเพื่อการตอบสนองความต้องการการพัฒนาในเชิง
พื้นที่ หรือตอบสนองเป้าหมายที่กำหนดในแผนพัฒนาประเทศ
(4) การบริหารงานภายใต้ระบบราชการทำให้มีการกำหนดกฎ ระเบียบ
ที่มากมายและรัดรึงเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น
การทุจริตประพฤติมิชอบ เป็นต้น เนื่องมาจากการทำงานของระบบ
ราชการที่ต้องอิงกฎหมายและระเบียบเป็นสำคัญ เมื่อเวลาผ่านไป
สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป กฎระเบียบต่างๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น
เงาตามตัว โดยที่ยังขาดการทบทวนปรับรื้อ หรือยกเลิก กฎระเบียบ
บางส่วนล้าสมัย กฏระเบียบเหล่านี้จึงกลับมาสร้างปัญหาในเชิงปฏิบัติ
(5) การขาดระบบความรับผิดชอบที่ชัดเจน สืบเนื่องมาจากการทำงานที่อิง
กฎระเบียบ และการจัดโครงสร้างราชการที่มีสายการบังคับบัญชา
1 ที่ยาวและซับซ้อน ทำให้ขาดระบบความรับผิดชอบต่อผลงานที่ชัดเจน
ว่าระดับใดบ้างต้องรับผิดชอบต่อผลงานใด ส่งผลให้การวัดผล
การทำงานจึงทำได้ยาก การสร้างระบบแรงจูงใจและการให้รางวัล
จึงทำได้ยากและไม่ค่อยประสบความสำเร็จ
(6) การทุจริตประพฤติมิชอบขยายวงอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นปัญหา
พื้นฐานที่มาจากการที่ข้าราชการมีอำนาจในการอนุมัติ อนุญาติหลาย
ประการ การแทรกแซงและแสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมือง
บางกลุ่ม การขาดคุณธรรมจริยธรรมของข้าราชการบางกลุ่ม ความ
อ่อนแอและความไร้ประสิทธิภาพประสิทธิผลของระบบตรวจสอบและ
การลงโทษ ส่งผลให้โอกาสในการทุจริตประพฤติมิชอบทำได้ง่ายและ
คุ้มค่า
ปัญหาหลักๆ ข้างต้นเป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไขให้สำเร็จ แต่รัฐบาลที่ผ่านมา
แม้ว่าจะประกาศนโยบายของรัฐบาล ก็ยังไม่ได้เข้าไปแก้ไขอย่างจริงจังและ
ต่อเนื่อง รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการหลายยุคหลายสมัย
ซึ่งก็สามารถทำได้เพียงการปรับปรุงบางส่วน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบราชการ
สถาบันพระปกเกล้า