Page 503 - kpi17968
P. 503
492
ที่ความหมายใกล้เคียงกันนี้ แต่คำแปลที่เป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลาย
ในสังคมไทยในปัจจุบันคือหลักนิติธรรม 6
ดังนั้นการปกครองที่ดีควรจะต้องให้กฎหมายอยู่สูงสุด (supremacy of
law) และทุกๆ คนต้องมีสถานะที่เสมอภาคและเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย
อันเดียวกัน กล่าวคือ แม้ตามหลักการของการแบ่งแยกอำนาจคือผู้ปกครองจะมี
อำนาจอันชอบธรรมในการออกและบังคับใช้กฎหมายก็ตาม แต่ตัวผู้ปกครอง หรือ
รัฐเองก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่พวกเขาออก และบังคับใช้เฉกเช่นเดียวกันกับ
พลเมืองคนอื่นๆ ในรัฐเพื่อที่จะทำให้การเมืองนั้นวางอยู่บนรากฐานของกฎหมาย
และรัฐบาลก็เป็นรัฐบาลที่ถูกจำกัด (limited government) โดยตัวกฎหมายเป็น
สำคัญเช่นเดียวกัน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็น
รัฐธรรมนูญฉบับแรกในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทยที่ได้บัญญัติรับรู้ถึงความมี
อยู่และความสำคัญของหลักนิติธรรม โดยใช้คำว่า “หลักนิติธรรม” เขียนไว้ใน
กฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 เป็น
รัฐธรรมนูญที่มีความเป็นมาสืบเนื่องจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน
2549 แต่อย่างไรก็ตาม แม้รัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ จะมิได้มีบทบัญญัติที่ใช้คำว่า
“หลักนิติธรรม” ไว้โดยตรง แต่ก็มิได้หมายความว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ มิได้มี
บทบัญญัติที่มีเนื้อหาตรงกับหลักการหรือสาระสำคัญของหลักนิติธรรมไว้ อาทิ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 32 บัญญัติไว้ว่า
“บุคคลจะไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลา
ที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้น
จะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้”
เป็นต้น
และมาตรา 3 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติรับรู้ถึงความมีอยู่และความสำคัญของหลักนิติธรรม
6 ศ. ดร.กำชัย จงจักรพันธ์, การบรรยาย, “หลักนิติธรรมความหมายสาระสำคัญและผล
ของการฝ่าฝืน” 21 กุมภาพันธ์ 2556 โรงแรมรามาการ์เด้นส์
บทความที่ผานการพิจารณา