Page 538 - kpi17968
P. 538

527




                   ทบทวนโดยฝ่ายตุลาการหรือ “ตุลาการภิวัฒน์” (Judicial review) ให้ฝ่าย

                   นิติบัญญัติและฝ่ายบริหารใช้อำนาจรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามหลักนิติธรรมโดยมิให้ขัด
                   หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจถึงการใช้อํานาจตุลาการภิวัฒน์ของ
                   ศาลสูงสุดสหรัฐจึงต้องศึกษาประวัติพัฒนาการรูปแบบแนวคำวินิจฉัยของศาลสูง

                   สุดสหรัฐ ตั้งแต่คดี Marbury v. Madison ในปี ค.ศ. 1803 จนถึงคดีต่างๆ
                   ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยที่มีความสำคัญต่อการพิทักษ์หลักศุภนิติกระบวน ดังนี้


                      2.1 คำวินิจฉัยของศาลสูงสุดสหรัฐในคดี Marbury v. Madison (ค.ศ.

                   1803) : ต้นกำเนิดการใช้อำนาจตุลาการภิวัฒน์ (Judicial Review) ตาม
                   หลักนิติธรรม


                           สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรใช้เป็น
                   ประเทศแรกของโลกในปี ค.ศ. 1787 ซึ่งมีศาลสูงสุดปฏิบัติหน้าที่เป็นองค์กร

                   ตุลาการเช่นศาลรัฐธรรมนูญ ที่เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการในการพิจารณาคดีโดยมี
                   วัตถุประสงค์เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ก่อนที่
                   สหรัฐอเมริกาจะได้มีรัฐธรรมนูญ แนวความคิดของ Sir Edward Coke ซึ่งอังกฤษ

                   ได้รับรองความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญในคดีนายแพทย์ Thomas
                   Boham ดังกล่าวข้างต้น ได้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั่วไปเมื่อมีการตั้งถิ่นฐาน
                   ในสหรัฐอเมริการาวศตวรรษที่ 17 แม้ในเวลาต่อมาประเทศอังกฤษได้หันกลับไป

                   ยึดหลักความมีอำนาจสูงสุดของรัฐสภาในการตรากฎหมาย แต่นักกฎหมายของ
                   สหรัฐอเมริกาซึ่งส่วนมากไปจากอังกฤษ ยังคงรักษาหลักการมีอำนาจจำกัดของ
                   รัฐสภาในการตรากฎหมายไว้ในฐานะที่เป็นหลักกฎหมายที่สำคัญในการธำรงไว้

                   ซึ่งความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ
                   ของพลเมือง แนวความคิดนี้จึงได้ปรากฏอย่างชัดเจนขึ้นในปี ค.ศ. 1788 เมื่อ
                   อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) ซึ่งได้เป็นผู้ร่วมยกร่าง

                   รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ได้แสดงความเห็นสนับสนุนหลักความเป็นกฎหมาย
                   สูงสุดของรัฐธรรมนูญและอำนาจของผู้พิพากษา ศาลสูงสุดในการตีความ
                   รัฐธรรมนูญเพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามหลักศุภนิติกระบวน (Due

                   process of law) หรือหลักนิติธรรมของอังกฤษนั่นเอง







                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   533   534   535   536   537   538   539   540   541   542   543