Page 548 - kpi17968
P. 548
537
รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทั้งสิบครั้งของสหรัฐมีผลบังคับอย่างจริงจัง และ
ได้กลายเป็นบทบัญญัติสิทธิขั้นพื้นฐาน (Bill of Rights) ของสหรัฐในปัจจุบัน
ซึ่งได้มีอิทธิพลแพร่หลายไปทั่วโลกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง สิทธิ
ขั้นพื้นฐานใน Bill of Rights ของสหรัฐซึ่งแพร่หลายเข้าไปในจารีตทางนิติศาสตร์
ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย คือ หลักศุภนิติกระบวน (Due
process of law) สิทธิขั้นพื้นฐานที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
ครั้งที่ 5 ที่ว่า “No person shall be…nor be deprived of life, liberty, or
property, without due process of law…” ได้รับรองกลไกอำนาจตรวจสอบ
ของฝ่ายตุลาการ (Judicial review) และหลักศุภนิติกระบวน (Due process of
law) ซึ่งเปิดทางให้องค์กรตุลาการภายใต้การนำของศาลสูงสุดสหรัฐ ยึดถือหลัก
ความมีอำนาจสูงสุดของฝ่ายตุลาการ (Judicial supremacy) ในการตรวจสอบ
ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ยึดหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของ
รัฐธรรมนูญ (Supremacy of the Constitution)
กลไกอำนาจตรวจสอบของฝ่ายตุลาการ (Judicial review) ซึ่งใช้หลัก
การตีความรัฐธรรมนูญตามทฤษฎีโครงสร้างนิยมได้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบอีกครั้ง
ในคดี McCuiloch v. Maryland (ค.ศ. 1819) ซึ่งตัดสินโดยจอห์น มาร์แชล เช่น
กันในคดี Marbury v. Madison ที่มีปัญหาว่าศาลสูงสุดสหรัฐมีอำนาจวินิจฉัย
ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติหรือไม่ แม้ไม่มีบัญญัติ
ไว้ในรัฐธรรมนูญสหรัฐ ซึ่งศาลสูงสุดสหรัฐวินิจฉัยจากความหมายโดยนัยของ
รัฐธรรมนูญว่า ศาลมีอำนาจตรวจสอบทบทวนการกระทำของรัฐสภา ถ้าการ
กระทำดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ศาลก็สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโมฆะ แต่ใน
คดี McCuiloch v. Maryland เป็นคดีแรกที่ศาลสูงสุดสหรัฐนำหลักพื้นฐาน
Higher law ของหลักศุภนิติกระบวน (Due process of law) มาใช้ในการ
พิจารณาปัญหากฎหมายมลรัฐแมรีแลนด์ห้ามมิให้ธนาคารใดๆ ที่ดำเนินงานอยู่ใน
มลรัฐและมิได้รับมอบอำนาจจากมลรัฐออกตราสารการเงินเว้นแต่มีเอกสาร
ประทับที่ออกโดยตรงทางการมลรัฐ ซึ่งการออกเอกสารดังกล่าวต้องเสียค่า
ธรรมเนียม และการฝ่าฝืนเป็นความผิดทางอาญา รัฐสภาของรัฐบาลสหรัฐ
ออกกฎหมายจัดตั้งธนาคารสหรัฐ และสาขาบัลติมอร์ของธนาคารได้ออกตราสาร
การเงินในมลรัฐแมรีแลนด์โดยไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายมลรัฐแมรีแลนด์ ในการ
บทความที่ผานการพิจารณา