Page 198 - kpi18886
P. 198
190
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2489 โดยการยุบสภา
ผู้แทนราษฎรเพื่อเปิดให้มีการเลือกตั้งใหม่หลังจากที่ได้ว่างเว้นการจัดการเลือกตั้ง
ทั่วไปมาเป็นระยะเวลาเกือบ 8 ปี 32
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.
2489 เป็นการเลือกตั้ง โดยตรงแบบแบ่งเขต ใช้อัตราส่วนราษฎร 200,000 คน
ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน โดยเป็นการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จำนวน 96 คน มีผู้ออกมาใช้สิทธิลงคะแนน 2,091,877 คน คิดเป็นร้อยละ
33
32.52 การจัดการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นระบบสภาเดียว
แต่ในครั้งนี้มีความแตกต่างจากการเลือกตั้งก่อนหน้านี้ที่มีพรรคการเมืองเพียง
พรรคเดียวคือพรรคคณะราษฎร มีบทบาทสำคัญตรงที่มีพรรคการเมืองแข่งขันกัน
ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด 5 พรรค ได้แก่ พรรคสหชีพ พรรค
แนวรัฐธรรมนูญ พรรคอิสระ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาชน
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายควง อภัยวงศ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้
รวมกลุ่มกับนักการเมือง สายอนุรักษ์ เช่น หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช จัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์และประสบความสำเร็จ
อย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งในจังหวัดพระนคร จนได้รับการสนับสนุนจากสมาชิก
34
สภาผู้แทนราษฎรให้เป็นผู้นำจัดตั้งรัฐบาล แต่หลังจากนายควง อภัยวงศ์แพ้
เสียงในสภาผู้แทนราษฎรเรื่อง “พระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชน
ในภาวะคับขัน” ซึ่งรัฐบาลไม่รับ แต่สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้รับด้วยคะแนน 65
ต่อ 63 เสียง นายควง อภัยวงศ์ จึงได้ขอลาออกจากตำแหน่ง สภาผู้แทนราษฎร
ได้มีมติเลือก นายปรีดี พนมยงค์ ให้เข้ามา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนเมื่อ
วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 35
32 นิยม รัฐอมฤต. อ้างแล้ว, หน้า 72.
33 เชาวนะ ไตรมาศ. เรื่องเดียวกัน, หน้า 138.
34 นิยม รัฐอมฤต. อ้างแล้ว, หน้า 72-73.
35 ปรียวรรณ สุวรรณสูนย์. (ม.ป.ป.ข). “ปรีดี พนมยงค์.” ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง
สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นจาก <http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ปรีดี_พนมยงค์> เข้าถึง
เมื่อ 10 ธันวาคม 2559.
การประชุมกลุมยอยที่ 1