Page 199 - kpi18886
P. 199
191
การขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของนายปรีดี พนมยงค์ ทำให้เกิดการบังคับใช้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ในวันที่ 10 พฤษภาคม
พ.ศ. 2489 โดยมีเนื้อหาในการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการได้มาซึ่งนักการเมือง
ที่สำคัญคือการกำหนดให้ยกเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ซึ่ง
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งทั้งหมด ทำให้ต้องมีการจัดการเลือกตั้งเพิ่มเติมขึ้น
ในวันที่ 5 สิงหาคม ปีเดียวกัน เฉพาะใน 47 จังหวัด เพื่อให้ได้สมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรจำนวน 82 คน ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิ
ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด 5,819,662 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน
2,026,823 คน คิดเป็นร้อยละ 34.83 อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าว
36
นายปรีดี พนมยงค์เองก็มิได้อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่อง แต่มี
เหตุการณ์ที่ทำให้ต้องลาออกจากตำแหน่งถึง 2 ครั้ง
การลาออกครั้งแรกเกิดขึ้นในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เพื่อให้มี
การลงมติเลือกนายก-รัฐมนตรีตามแนวทางของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ครั้งที่สอง
เกิดขึ้นในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เนื่องจากเกิดเหตุกรณีสวรรคตของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งทั้งสองครั้งสภาผู้แทนราษฎรมีมติ
เลือกนายปรีดี พนมยงค์ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลของ
37
นายปรีดี พนมยงค์ถูกโจมตีอย่างหนัก โดยถูกกล่าวหาว่าพยายามปิดบังอำพราง
ความจริงในกรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รวมทั้ง
ไม่สามารถหาข้อเท็จจริงในการสวรรคตมาแจ้งให้ประชาชนทราบจนเป็นที่พอใจได้
สถานการณ์รุนแรงขึ้นจนรัฐบาลต้องประกาศภาวะฉุกเฉินในวันที่ 2 กรกฎาคม
พ.ศ. 2489 แต่สถานการณ์ต่างๆ ของรัฐบาลยังไม่ดีขึ้น ในที่สุดนายปรีดี พนมยงค์
จึงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2489 โดยให้
เหตุผลว่าได้ตรากตรำทำงานสนองคุณประเทศชาติมาเป็นเวลาพอสมควร รู้สึกว่า
38
สุขภาพอนามัยเสื่อมโทรมจนไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้เต็มที่
36 เชาวนะ ไตรมาศ. เรื่องเดียวกัน, หน้า 138.
37 ปรียวรรณ สุวรรณสูนย์. (ม.ป.ป.ข). อ้างแล้ว.
38 เรื่องเดียวกัน.
การประชุมกลุมยอยที่ 1