Page 200 - kpi18886
P. 200
192
การลาออกของนายปรีดี พนมยงค์ นำไปสู่การลงมติของสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรเลือกพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ สมาชิกคณะราษฎร
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ขึ้นมาเป็น
นายกรัฐมนตรีแทนในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 แต่ก็ดำรงตำแหน่งอยู่ได้
ไม่ถึงหนึ่งปีก็ต้องลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
ภายหลังจากการถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยพรรคประชาธิปัตย์ถึง 7 วัน 7 คืน
แม้ผลการลงมติรัฐบาลจะได้รับความไว้วางใจให้บริหารประเทศต่อไปแต่พลเรือตรี
ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อปรับปรุง
คณะรัฐมนตรี ก่อนที่จะได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรเลือกให้กลับมา
เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่งในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 จนกระทั่ง
มาสิ้นสุดลงเมื่อเกิดการรัฐประหารนำโดยพลโทผิน ชุณหวัณในวันที่ 8 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2490 39
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดขึ้นหลังเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อ
วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 อีก 4 ครั้งถัดมา ได้แก่ การเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 การเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2492 การเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 และการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ถูกมองว่าจัดขึ้นในยุค
ทหารเข้ากุมอำนาจรัฐ ทำให้การเลือกตั้งกลายเป็นเพียงเครื่องมือสร้างความ
ชอบธรรมให้กับกลุ่มผู้ทำการยึดอำนาจมากกว่าเป็นช่องทางให้ประชาชนเลือก
รัฐบาล โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองการปกครอง
40
ของหัวหน้าคณะรัฐบาลในช่วงเวลาดังกล่าว เห็นได้ชัดว่านอกจากจอมพล ป.
พิบูลสงครามแล้ว มีนายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น
เพียงคนเดียวเท่านั้นที่ได้รับการเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้ง (การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ
39 พุทธชาติ ทองเอม. (ม.ป.ป.). “ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์.” ฐานข้อมูลการเมือง
การปกครอง สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นจาก <http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=
ถวัลย์_ธำรงนาวาสวัสดิ์> เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2559.
40 นิยม รัฐอมฤต. อ้างแล้ว, หน้า 73.
การประชุมกลุมยอยที่ 1