Page 201 - kpi18886
P. 201

193




                   วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491) และเมื่อนายควง อภัยวงศ์ดำรงตำแหน่งอยู่ได้

                   เพียงหนึ่งเดือนเศษ (21 กุมภาพันธ์ – 8 เมษายน พ.ศ. 2491) คณะรัฐประหาร
                   ได้ส่งนายทหารไป “จี้” ให้นายควง อภัยวงศ์ลาออกจากตำแหน่งเพื่อเปิดทางให้
                                                                      41
                   จอมพล ป. พิบูลสงครามกลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี  อีก 6 สมัยก่อนที่
                   รัฐบาลชุดที่ 8 ภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (21 มีนาคม–
                   16 กันยายน พ.ศ. 2500) จะถูกยึดอำนาจโดยการรัฐประหารที่มีจอมพลสฤษดิ์
                                  42
                   ธนะรัชต์เป็นผู้นำ

                   (2) การได้มาซึ่งนักการเมืองผ่านการเลือกตั้งในช่วงหลัง พ.ศ. 2500 ถึง

                   พ.ศ. 2516
                         ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.
                   2500 ปรากฏว่า พรรคสหภูมิที่มีนายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็นหัวหน้าพรรคมี

                   สมาชิกพรรคได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภามากที่สุด จำนวน 44 คน รองลงมา
                   ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ 39 คน พรรคเศรษฐกร 6 คน เสรีประชาธิปไตย
                   5 คน พรรคเสรีมนังคศิลา 4 คน พรรคชาตินิยม 1 คน พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค

                   1 คน พรรคอิสระ 1 คน ในขณะที่ผู้สมัครที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้ง
                   เข้ามาถึง 59 คน  ส่งผลให้ พรรคสหภูมิ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่สนับสนุน
                                   43
                   จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ไม่ได้เสียงข้างมากในการเลือกตั้ง จอมพลสฤษดิ์

                   ธนะรัชต์ จึงได้จัดตั้งพรรคชาติสังคมขึ้นมาภายหลังการเลือกตั้งเพื่อเป็นแกนกลาง
                   ในการรวบรวมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองต่างๆ รวมทั้งสมาชิก
                   สภาผู้แทนราษฎรที่ไม่สังกัดพรรคเข้ามาเป็นสมาชิกและร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล
                                                                                       44
                   แต่เนื่องจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์มีอาการป่วยต้องไปเข้ารักษาตัวที่ประเทศ
                   สหรัฐอเมริกา พลโทถนอม กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) นายทหารผู้ใกล้ชิดจึงได้
                   รับความไว้วางใจให้เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีโดยมติของสภาที่พรรค


                      41   นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2549). อ้างแล้ว, หน้า 48.
                      42   เชาวนะ ไตรมาศ. เรื่องเดียวกัน, หน้า 22.
                      43   นิยม รัฐอมฤต. อ้างแล้ว, หน้า 76.

                      44   ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ. (2549). “พรรคการเมืองไทย,” ใน นรนิติ เศรษฐบุตร,
                   บรรณาธิการ. การเมืองการปกครองไทยในรอบ 60 ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติของพระบาท
                   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า 160.





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 1
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206