Page 202 - kpi18886
P. 202
194
ชาติสังคมมีเสียงข้างมากนั้น อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่พลโทถนอม กิตติขจร
45
เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยแรก รัฐบาลต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ทั้งความไม่มี
เอกภาพภายในของพรรครัฐบาลและความไม่ลงรอยกันระหว่างรัฐบาลกับสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรในเรื่องการจัดสรรงบประมาณ คณะนายทหารจึงได้หารือกัน
และตัดสินใจทำการรัฐประหารยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
โดยในครั้งนี้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้เดินทางกลับจากการรักษาตัวเพื่อเข้าดำรง
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกับยุบเลิกพรรคการเมืองทั้งหมด รวมทั้งมีการ
ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และประกาศใช้กฎอัยการศึก
46
ทั่วประเทศ
ภายหลังการยึดอำนาจดังกล่าว จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ประกาศใช้
ธรรมนูญการปกครองชั่วคราวและได้เปลี่ยนรูปแบบของรัฐสภาที่เป็นมาโดยสิ้นเชิง
กล่าวคือ กำหนดให้มีสภานิติบัญญัติมาจาการแต่งตั้งเท่านั้น และให้มีอำนาจ
หน้าที่ในการออกกฎหมายและร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่มีอำนาจหน้าที่ควบคุม
ตรวจสอบคณะรัฐมนตรี จนอาจกล่าวได้ว่า การรัฐประหารเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม
พ.ศ. 2501 ที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ในครั้งนั้นได้ทำให้ระบอบ
การปกครองที่ถูกครอบงำด้วยระบบราชการ ทหารและพลเรือน หรือที่นักวิชาการ
47
ขนานนามว่า “ระบอบอำมาตยาธิปไตย (bureaucratic polity )” มีการ
กระชับอำนาจที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดมากที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา
การเข้าสู่อำนาจทางการเมืองการปกครองนับตั้งแต่นั้น จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์
การชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของขบวนการนักศึกษาที่ต่อมารู้จักกันในชื่อ
“เหตุการณ์ 14 ตุลา 16” ถูกผูกขาดโดยคณะนายทหารที่มีการใช้อำนาจการ
ปกครองแบบเบ็ดเสร็จนำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร และ
จอมพลประภาส จารุเสถียร โดยสาเหตุที่นายทหารในยุคนั้นสามารถใช้อำนาจ
การปกครองได้อย่างเบ็ดเสร็จนั้นมีการวิเคราะห์กันว่าเกิดจากเหตุปัจจัยหลาย
ประการ อาทิ การที่นายทหารกลุ่มดังกล่าวมิได้เป็นนายทหารที่เกี่ยวข้องโดยตรง
45 เชาวนะ ไตรมาศ. เรื่องเดียวกัน, หน้า 22.
46 ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ. เรื่องเดียวกัน, หน้า 160.
47 Riggs, Fred W. (1966). Thailand: The Modernization of a Bureaucratic
Polity. Honolulu: East-West Press.
การประชุมกลุมยอยที่ 1