Page 408 - kpi18886
P. 408
400
ประเทศไทยมีความพยายามจะปฏิรูปการเมือง โดยมีการกำหนดให้เรื่อง
การกระจายอำนาจเป็นเรื่องสำคัญในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จึงทำให้
การปกครองท้องถิ่นของไทยเป็นเรื่องได้รับความสนใจและกลายเป็นเรื่องสำคัญ
ประกอบกับองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีจำนวน
มากที่สุดและมีความใกล้ชิดสมาชิกในชุมชนมาก ดังนั้นจึงเป็นที่จับตามองจาก
หลายฝ่าย ทำให้เห็นถึงปัญหาต่างๆ และนำมาซึ่งความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข
เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลเกิดประสิทธิภาพในการบริหารงานมากที่สุด
การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พึ่งตนเองและตัดสินใจ
ในกิจการของท้องถิ่นได้เองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และมีปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ
การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพราะจะสามารถส่งเสริมให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจของ
ท้องถิ่น และพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้าง
พื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน นอกเหนือจากการที่
ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหาร การจัดบริการ
สาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินการคลังและงบประมาณ รวมทั้ง มีอำนาจ
หน้าที่ในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพที่อยู่ในเขตพื้นที่อย่างสมดุลและ
ยั่งยืน
องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นแนวคิดในการพัฒนา
องค์กรโดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้นำในองค์กร
(Leadership) และการเรียนรู้ร่วมกันของคนในองค์กร (Team Learning) เพื่อให้
เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และ
พัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน ดังนั้น
จึงจำเป็นต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปรับเปลี่ยนองค์กรของตนให้ตอบรับ
กับการพัฒนารอบด้าน โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบล มีชื่อย่อเป็นทางการ
ว่า อบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 มีหน้าที่ตามพระราช
บทความที่ผานการพิจารณา