Page 410 - kpi18886
P. 410
402
วิธีการดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) โดยใช้
การวิจัยเชิงปริมาณในการศึกษาคุณลักษณะที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาภาคสนาม
ในองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่คณะผู้วิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิ คัดเลือกให้เป็นต้นแบบ
3 แห่ง โดยเลือกตัวแทนที่เป็นต้นแบบขององค์กรบริหารส่วนตำบลทั้ง 3 ขนาด
คือ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาองค์กร
แห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนในประเทศไทย โดยได้คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และ
ใช้ระเบียบวิธีวิจัยภาคสนามร่วมกับเทคนิคการสนทนากลุ่ม ได้แก่ องค์การบริหาร
ส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนตำบล
บ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี และองค์การบริหารส่วนตำบลม่วง
สามสิบ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัย
สนับสนุนในการพัฒนาองค์กร ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดประชุมสนทนา
กลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาองค์กร การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และ
การประชุมร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อวิพากษ์แนวทางและจัดทำข้อเสนอแนะการทำ
คู่มือเพื่อพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่าง
ยั่งยืน
ผลการวิจัย
ผลการศึกษาคุณลักษณะที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรแห่ง
การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1
ด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นสภาพขององค์กรบริหาร
ส่วนท้องถิ่นที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน จากการสอบถามองค์การ
บริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม
ด้วยตนเอง พบว่า เอกลักษณ์สำคัญของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในรูปแบบ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ การพัฒนาทั้งองค์กร บุคลากร และชุมชนไป
ด้วยกัน ซึ่งผลตามตัวชี้วัดคุณลักษณะการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
แบ่งเป็นคุณลักษณะส่วนบุคคล และคุณลักษณะขององค์กร ได้ผลดังต่อไปนี้
บทความที่ผานการพิจารณา