Page 488 - kpi18886
P. 488
480
กับกรอบแรกของยุทธศาสตร์ชาติ “การรักษาความมั่นคง” ซึ่งเป็น วิสัยทัศน์ของ
ยุทธศาสตร์ เพื่อให้สังคมมีความมั่นคง อันมีเป้าหมายในการสร้างเสถียรภาพ
ภายในประเทศและช่วยลดภัยคุกคามจากภายนอก โดยจะเห็นว่ากรอบที่ให้ความ
สำคัญด้าน 1) การปฏิรูป การบริหารประเทศ และการพัฒนาความมั่นคงทาง
การเมือง ขจัดคอร์รัปชัน และสร้างความเชื่อมั่น 2) ด้านการรักษาความมั่นคง
ภายใน และความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน และตำบลล้วนเป็นหน่วยปกครอง
ที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด เพราะฉะนั้น การบรรลุยุทธศาสตร์ด้าน
ความมั่นคงข้างต้นย่อมสามารถบรรลุได้ ทั้งนี้อาจให้ความสำคัญกับกำนัน
ผู้ใหญ่บ้านที่มีสถานะเป็นผู้นำตามธรรมชาติที่ประชาชนในท้องที่เคารพนับถือเป็น
แรงหนุนไปด้วย นอกจากนี้ การพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ
ที่เป็นการดำเนินการในเชิงพื้นที่ โดยกลไกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีศักยภาพ และ
ภูมิคุ้มกันปัญหา และสามารถพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน โดยให้ความร่วมมือกับ
ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างความมั่นคงภายในพื้นที่
แต่อย่างไรก็ตามบทบาทที่มีตามกฎหมายของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านมี
การเปลี่ยนบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านของเดิมตามกฎหมายลักษณะปกครอง
ท้องที่ ถ้านับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 เป็นบทบาทในฐานะ
ตัวแทนรัฐ ซึ่งในพื้นที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านจะทำหน้าที่แทน
องค์กรของรัฐทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม แล้วยังเป็นตัวกลาง
ระหว่างประชาชนกับรัฐ แต่ภายหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2540 กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่และอื่นๆ ภาระหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น
มีหน่วยงานอื่นเข้าไปทำแทน บทบาทหน้าที่จึงเริ่มลดลง และมีการกระจายอำนาจ
มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในระดับพื้นที่ ภารกิจก็ลดลงไปอีก
โดยเฉพาะเมื่อมีการแก้กฎหมายเมื่อ ปี พ.ศ. 2550 หน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล (ตระกูล มีชัย,
2560, ออนไลน์)
จากที่กล่าวมาข้างต้น แม้บทบาทลดลงของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านก็ตาม
หากมองในเชิงพื้นที่การปกครองในระดับตำบลว่าขณะนี้รูปแบบของอำนาจหน้าที่
ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านยังมีความจำเป็นอยู่ แม้จะมีองค์กรอื่นทำหน้าที่แทนแล้ว
ทำให้บทบาทลดลง แต่การดูแลลูกบ้าน (ประชาชนในท้องที่) ยังคงอยู่ในฐานะ
บทความที่ผานการพิจารณา