Page 494 - kpi18886
P. 494
486
ตามที่องค์กรอื่นๆร้องขอ เช่น ให้ความช่วยเหลือกับทางราชการต่อการสำรวจ
ข้อมูลของพื้นที่เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนา เช่น การสร้างอาชีพ การจัดการกับ
ผู้สูงอายุ การเสริมสร้างศักยภาพชุมชน โครงการการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
ดังนั้น หน้าที่โดยตรงของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ย่อมต้องเป็นกลไกประสานระหว่าง
ประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำโครงการต่างๆ ที่รัฐเห็นว่าสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
ไปดำเนินงานให้เกิดสัมฤทธิ์ผลในพื้นที่ให้ได้
2. บทบาทในการสร้างพื้นที่การสื่อสารร่วมกัน สร้างความเข้าใจเพื่อ
ประสานงานประชาชนในพื้นที่ จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ชาติที่สร้าง
โครงการใดไปสู่หมู่บ้านในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาช่องว่างใน
การกระจายรายได้ ปัญหาการดูแลคุณภาพของผู้สูงอายุ คนพิการ การอนุรักษ์
และพัฒนาไม่ให้พื้นที่เสื่อมโทรม สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการสื่อสารเพื่อทำ
ความเข้าใจอย่างมากระหว่างประชาชนในพื้นที่ เพราะโดยลักษณะการทำงานกับ
ประชาชนในพื้นที่ ต้องทุ่มเทอย่างมากในการสร้างการสื่อสาร เพื่อเสริมการทำ
หน้าที่ระหว่างรัฐกับประชาชนให้สัมฤทธิ์ผล เพราะการสร้างความเข้าใจด้วย
การสื่อสารทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการเป็นมิติสำคัญต่อการยอมรับซึ่งกัน
และกัน แต่อย่างไรก็ดีประเด็นนี้ด้วยสภาพปัจจุบันการพัฒนาประเทศ
ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร บทบาทนี้ได้ลดลง
แต่มิติที่ท้าทายไปกว่านั้น คือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ควรปรับตัวโดยใช้เทคโนโลยี
การสื่อสารที่พัฒนานี้ไปใช้ประโยชน์ในการสร้างพื้นที่การสื่อสารร่วมผนึกกำลัง
ของประชาชนในพื้นที่ด้วย
3. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นสถาบันหลักๆ ของท้องที่ระดับจุลภาคที่จะ
เข้าไปมีส่วนร่วมในการบูรณาการระหว่างยุทธศาสตร์ชาติ มาสู่ยุทธศาสตร์
จังหวัด และวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน และบริหารกิจกรรมที่ดำเนินในหมู่บ้าน
หรือพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกัน ผู้เขียนเห็นว่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นคนในพื้นที่
ย่อมเข้าใจถึงพื้นที่ดีกว่า การกำหนดแผนจากส่วนกลาง การเข้าไปร่วมเขียนแผน
ในพื้นที่ย่อมบูรณาการร่วมกันได้ อนึ่งสถานการณ์ที่และบริบทการเปลี่ยนในพื้นที่
เจ้าหน้าที่รัฐเอง อาจไม่มีความลึกซึ้งพอ เช่น ความเข้าใจบริบทของพื้นที่
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ความเชื่อ อัตลักษณ์ท้องถิ่น การก้าวสู่ความเป็นเมืองอย่าง
บทความที่ผานการพิจารณา