Page 492 - kpi18886
P. 492

484




               การจัดการทรัพย์สินมรดกอยู่ ชาวบ้านก็ต้องอาศัยการช่วยจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

               อยู่เสมอเพื่อนำส่งความเดือดร้อนไปสู่รัฐ บางงบประมาณที่ได้มากจากรัฐซึ่งเป็น
               งบที่ได้ทุกพื้นที่ แต่ด้วยความใกล้ชิดประชาชนก็ทำให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านใช้ช่องว่าง
               ตรงนี้ในการเรียกคะแนนเสียงซื้อใจชาวบ้าน ด้วยการบอกชาวบ้านว่า งบที่ได้มา

               นั้นมาจากการดำเนินการของตนเอง พูดถึงความลำบากกว่าที่ตนเองจะได้งบตรงนี้
               มา (ธัชภรณ์ ศรีเมือง, 2560)


                     นอกจากนี้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแม้ว่ารัฐจะให้ความสำคัญกับการกระจาย
               อำนาจ เพราะถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยนั่นคือ ต้องการให้

               ประชาชนปกครองกันเอง แต่พอมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างขึ้นจริงก็มีการ
               ปรับแบบรักพี่เสียดายน้อง ไม่เลือกว่าจะให้โครงสร้างของประเทศเป็นอย่างไร
               จนมีการนำองค์การบริหารส่วนตำบลเข้ามามีบทบาทในพระราชบัญญัติปี 2537
               ก็บอกว่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้านจะค่อยๆ หมดไปเอง แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ได้มีการลด

               บทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านลงเลย (อัษฎางษ์  ปาณิกบุตร, 2555, สัมภาษณ์
               31 ต.ค. 2555) กำนัน ผู้ใหญ่บ้านยังคงอยู่ได้หลังจากการกระจายอำนาจมากว่า
               สองทศวรรษโดยที่ไม่มีกฎหมายฉบับใดปรับลดบทบาท และจำนวนของกำนัน

               ผู้ใหญ่บ้านลงเลย การคงอยู่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในบริบทของการกระจายอำนาจ
               สู่ท้องถิ่นจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าแม้จะมีนโยบายการกระจายอำนาจไปสู่
               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ในด้านกฎหมายนั้นถึงแม้จะมีการกระจายอำนาจสู่

               ท้องถิ่น และมีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านหลายครั้ง แต่ไม่ได้
               ทำบทบาท และอำนาจหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านลดลงแต่อย่างใด (ไททัศน์
               มาลา, 2559)


                     จากงานของวรเดช จันทรศร และลิขิต ธีรเวคิน (2530) ได้ศึกษา
               การประสานการดำเนินงาน ขอระบบราชการในระดับมหาภาคและจุลภาค

               ในการนำนโยบาย และแผนพัฒนาประเทศไปปฏิบัติ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ระบบ
               ราชการ คือกุญแจสำคัญของความสำเร็จในการนำแผนพัฒนาประเทศไปปฏิบัติ
               และมีปัญหาอยู่ 4 ประการในกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่

               หน่วยงานองค์กร กลุ่มบุคคลที่นำนโยบายไปปฏิบัติในส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น
               ขาดความเข้าใจในนโยบายของส่วนกลาง หรือนโยบายของกรมหน่วยงานระดับ
               ปฏิบัติยังขาดศักยภาพในด้านบุคคล เครื่องมืออุปกรณ์ และงบประมาณขาด




                    บทความที่ผานการพิจารณา
   487   488   489   490   491   492   493   494   495   496   497