Page 177 - kpi20756
P. 177
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 177
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
จะแสวงหาประโยชน์จากฝ่ายที่ด้อยกว่า ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของการขูดรีดคือ ความสัมพันธ์
ระหว่างนายกับทาสในยุคศักดินา แม้ว่าในปัจจุบันนี้ลักษณะความสัมพันธ์ดังกล่าวจะหมดไป แต่
ในยุคทุนนิยมมีการตั้งข้อสังเกตว่ามีการขูดรีดในลักษณะใหม่ ทั้งการใช้แรงงานเกินเวลา โดยให้
ค่าจ้างที่ต่ำ และสภาพการทำงานที่เลวร้าย (sweatshop) หรือกระทั่งการจ้างงานที่ฝ่ายแรงงาน
ไม่สามารถมีอำนาจต่อรองกับฝ่ายนายจ้างได้ กลไกประการนี้ถูกมองว่าเป็นรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด
ของความเหลื่อมล้ำ เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมทางสังคมอย่างชัดเจนที่สุด กลไก
ประการที่สามคือ การกีดกัน (exclusion) ซึ่งหมายถึงการขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นเข้าถึง เข้าร่วม และ
ได้รับประโยชน์บางประการหากไม่ได้เป็นสมาชิกในกลุ่ม ในทางเศรษฐศาสตร์ การกีดกันจะหมาย
ถึงการผูกขาดในการทำธุรกิจ ซึ่งการผูกขาดนั้นอาจเกิดมาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ
(rent-seeking) หรืออีกนัยหนึ่งคือ การคอร์รัปชั่นนั่นเอง กลไกประการสุดท้ายคือ การสร้าง
ลำดับชั้นสูงต่ำ (hierarchization) ในสังคม ในอดีตกลไกนี้มักจะเกี่ยวพันกับสถานภาพทางชนชั้น
ดังเช่น ระบบวรรณะในอินเดีย เป็นต้น ในปัจจุบันสิ่งที่เห็นได้อย่างเด่นชัดที่สุดคือ ระบบราชการ
แบบพีระมิด ที่จำแนกสูงต่ำตามลำดับขั้นการบังคับบัญชา กลไกดังกล่าวจะส่งผลต่อความไม่เป็น
ธรรมในสังคมเมื่อมีการผูกขาดอภิสิทธิ์บางประการสำหรับบุคคลในลำดับชั้นสูง (Therborn,
2013)
หากพิจารณาถึงมุมมองที่มีต่อความเหลื่อมล้ำในยุคปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าตัวแสดงต่างๆ
เริ่มเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำมากขึ้น รวมทั้งตัวแสดงที่
ในอดีตเคยมีบทบาทสนับสนุนแนวทางการพัฒนาที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่ว่าจะเป็นองค์กร
ระหว่างประเทศ หรือประเทศมหาอำนาจดังเช่นสหรัฐอเมริกา ในส่วนขององค์กรระหว่างประเทศ
จะเห็นได้ถึงบทบาทขององค์กรสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสหประชาชาติ (ผ่านการขับเคลื่อน
เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน) กองทุนการเงินระหว่าง
ประเทศ ธนาคารโลก องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่ได้ออก
รายงานสะท้อนปัญหาและความกังวลเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อ
มุ่งแก้ปัญหาดังกล่าว ในส่วนของประเทศมหาอำนาจดังเช่นสหรัฐอเมริกา ในสมัยประธานาธิบดี
บารัค โอบามา ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหานี้เป็นอย่างมาก พอล ครุกแมน (Paul
Krugman) ถึงกับเรียกแนวนโยบายเรื่องนี้ของโอบามาว่าเป็นการดำเนิน “สงครามต่อต้าน
ความเหลื่อมล้ำ” (war on inequality) (Krugman, 2016) นอกจากนี้ยังเห็นได้ถึงบทบาทของ
ภาคประชาสังคมระดับโลกที่พยายามเรียกร้องให้เห็นความตระหนักถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำ
ขบวนการดังกล่าวสามารถเรียกในภาพรวมว่าเป็น “ขบวนการเรียกร้องความเป็นธรรมระดับโลก”
(Global Justice Movement) ตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดคือ “ขบวนการยึดครอง” (Occupy
Movement) (Baumgarten, 2017)
ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งในกระแสการศึกษาปัญหาความเหลื่อมล้ำในยุคปัจจุบันคือ
ดูเหมือนว่านักวิชาการและผู้กำหนดนโยบายต่างเข้าใจสาเหตุของความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งแนวทาง
ในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นอย่างดี ในส่วนของสาเหตุของความเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะที่เกิดขึ้น
ในช่วงเวลาปัจจุบัน งานส่วนมากได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยของการขยายตัวของโลกาภิวัตน์ภายใต้ เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 3