Page 178 - kpi20756
P. 178
178 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
อิทธิพลของเสรีนิยมใหม่ว่าเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหา (Atkinson, 2015; Bourguignon, 2015;
Scheidel, 2017; Ostry, Loungani and Berg, 2019) งานจำนวนไม่น้อยได้ชี้ให้เห็นถึงชุดของ
นโยบายในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายภาษีอัตราก้าวหน้า ภาษีรายได้
จากทุน ภาษีมรดก การปฏิรูปที่ดิน การดำเนินนโยบายสวัสดิการ โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข
การศึกษา การลดการผูกขาดในการแข่งขัน การสร้างความเข้มแข็งให้กับสหภาพแรงงาน
การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เป็นต้น (ดู Atkinson, 2015; Scheidel, 2017) แม้ว่าจะมีความเข้าใจ
ดังกล่าว แต่การผลักดันให้ข้อเสนอเหล่านี้กลายเป็นแนวนโยบายล้วนแล้วเป็นสิ่งที่ยากลำบาก
จำเป็นต้องอาศัยทั้งเจตจำนงทางการเมืองอันแรงกล้าของรัฐบาลและชนชั้นนำ ความร่วมมือ
ระหว่างประเทศ และแรงผลักดันจากทั้งชนชั้นกลาง และมวลชน
ในภาพรวมอาจกล่าวได้ว่า มุมมองที่มีต่อเรื่องความเหลื่อมล้ำได้ปรับเปลี่ยนไปจากเดิม
ที่มองว่าความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องปกติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราว และจะลดลงเมื่อการพัฒนา
เศรษฐกิจดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นมุมมองที่ว่าความเหลื่อมล้ำคือ ปัญหาที่ต้องได้รับ
การแก้ไข จากกระแสโลกในยุคปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่ามุมมองเช่นนี้ได้เริ่มกลายเป็น “ฉันทามติ
ว่าด้วยความสำคัญของปัญหาความเหลื่อมล้ำ” ที่ตัวแสดงฝ่ายต่างๆ มีความเห็นร่วมกัน ทั้งฝ่าย
วิชาการ และผู้กำหนดนโยบายในระดับต่างๆ อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่สำคัญคือการแปลง
ฉันทามติดังกล่าวให้กลายเป็นการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ซึ่งมีนัยสำคัญคือการปรับเปลี่ยน
แนวนโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นแนวนโยบายแบบเสรีนิยมใหม่
การดำเนินนโยบายกระจายทรัพยากร ทั้งการจัดเก็บภาษี การดำเนินนโยบายสวัสดิการ ฯลฯ
การเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถดำเนินการได้อย่างง่ายดาย เนื่องจาก
ผู้ได้ประโยชน์จากนโยบายเหล่านี้แม้ไม่มีจำนวนที่มากนัก แต่ล้วนแล้วแต่ทรงอิทธิพลทั้งในทาง
เศรษฐกิจและการเมือง ทั้งภายในประเทศและระดับระหว่างประเทศ
ว่าด้วยการศึกษากระบวนการประชาธิปไตย และความเหลื่อมล้ำ
จากการทบทวนการศึกษาในเรื่องกระบวนการประชาธิปไตย และการศึกษาความเหลื่อมล้ำ
จะพบความน่าสนใจประการหนึ่ง นั่นคือ ขณะที่ในการศึกษากระบวนการประชาธิปไตย ปัจจัย
เรื่องความเหลื่อมล้ำเพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้ แต่ในการศึกษาความเหลื่อมล้ำ
โดยเฉพาะโดยนักเศรษฐศาสตร์ ปัจจัยเรื่องประชาธิปไตยถูกมองโดยนัยว่าเป็นองค์ประกอบ
ประการหนึ่งที่จะส่งผลต่อทิศทางของความเหลื่อมล้ำ สิ่งนี้ปรากฏให้เห็นในงานของคุซเนตส์
ที่สะท้อนว่า การขยายตัวของชนชั้นที่มีรายได้ต่ำในเมืองจะเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้
รัฐบาลต้องหันมาให้ความสำคัญกับการปกป้องคุ้มครองสวัสดิการของประชาชน และขยายผล
เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 3 ในมุมมองต่อยอดงานของคุซเนตส์ ที่เสนอโดยดารอน อเซโมกลู (Daron Acemoglu) และ
ในเชิงบวกของการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่ภาคส่วนต่างๆของสังคม (Kuznets, 1955) หรือหากมอง
เจมส์ โรบินสัน (James Robinson) ได้ระบุว่าจากปัญหาความเหลื่อมล้ำอันเกิดมาจาก
กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจจะสร้างแรงกดดันทางการเมืองตามมา โดยเฉพาะต่อกลุ่มชนชั้นนำ
แรงกดดันนี้หากเกิดขึ้นในรัฐที่เป็นเผด็จการอำนาจนิยมจะส่งผลทำให้รัฐบาลยอมผ่อนคลาย