Page 176 - kpi20756
P. 176
17 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
อีกหนึ่งกลุ่มงานที่สำคัญที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อความเหลื่อมล้ำคืองานที่
ศึกษาความเหลื่อมล้ำโดยนักสังคมวิทยา ประเด็นสำคัญที่แตกต่างจากนักปรัชญาอย่างชัดเจนคือ
มุมมองที่ว่า “ความเหลื่อมล้ำเป็นสิ่งสร้างหรือประดิษฐกรรมทางสังคม” โดยงานกลุ่มนี้มักจะมี
สมมติฐานตั้งต้นว่า องค์ประกอบสำคัญของความเหลื่อมล้ำคือ “ความแตกต่าง” (differences)
ซึ่งเป็นความแตกต่างที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หากแต่เป็นสิ่งสร้างทางสังคม (socially
constructed) ไม่ว่าจะเป็นฐานะทางเศรษฐกิจ (รวย-จน) สถานะทางอำนาจ (ผู้ปกครอง-ผู้ถูก
ปกครอง) ระดับการศึกษา (สูง-ต่ำ) ชาติพันธุ์ (ชนส่วนใหญ่-ชนกลุ่มน้อย) ชนชั้น (ชนชั้นนำ-
ชนชั้นกลาง-ชนชั้นล่าง) เพศสภาพ (หญิง-ชาย-อื่นๆ) เป็นต้น ประดิษฐกรรมทางสังคมเหล่านี้
นอกจากจะ “ขีดเส้นแบ่งความแตกต่าง” แล้ว ยังมักจะเกิดควบคู่กับปฏิบัติการทางสังคม
บางลักษณะที่ส่งผลต่อการ “สร้างความตระหนักในความแตกต่าง” และ “ผลิตซ้ำความแตกต่าง”
ซึ่งอาจส่งผลตามมาให้เกิดการแบ่งแยกกีดกัน (exclusion) หรือสร้างเงื่อนไขบางประการทำให้ผู้ที่
ถูกกีดกันไม่อาจใช้ศักยภาพพื้นฐานที่มีเพื่อบรรลุเป้าหมายบางประการได้ (Therborn, 2013)
นอกจากมุมมองของนักปรัชญาและนักสังคมวิทยาที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความรับรู้
เรื่องความเหลื่อมล้ำแล้ว ยังมีงานอีกกลุ่มหนึ่งที่พยายามชี้ให้เห็นถึง “ภยันตรายนานัปการที่ตาม
มาจากปัญหาความเหลื่อมล้ำ” นักวิชาการที่ศึกษาในประเด็นลักษณะนี้ค่อนข้างครอบคลุม
หลากหลายสาขาตั้งแต่นักเศรษฐศาสตร์ ดังเช่น งานของโจเซฟ สติกลิตซ์ (Joseph Stiglitz)
ที่ชี้ให้เห็นถึงต้นทุนสำคัญของความเหลื่อมล้ำ ไม่ว่าจะเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ลดลง
เนื่องจากความเหลื่อมล้ำส่งผลทำให้อุปสงค์ของผู้บริโภคส่วนมากในตลาดลดลง ระบบเศรษฐกิจ
ที่ขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากความเหลื่อมล้ำมักจะเชื่อมโยงกับปัญหาคอร์รัปชั่น ระบบการเมือง
ที่ไร้เสถียรภาพ เนื่องจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจมักจะส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทาง
การเมือง ซึ่งในท้ายที่สุดจะส่งผลต่อเสถียรภาพของประชาธิปไตย (Stiglitz, 2013) หรืองานของ
นักสังคมวิทยา ดังเช่น โกรัน เธอบอร์น ซึ่งชี้ให้เห็นว่า นอกจากความเหลื่อมล้ำจะเป็นการละเมิด
ต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แล้ว ปัญหาความเหลื่อมล้ำยังก่อให้เกิดการเสียชีวิตจำนวนมหาศาล
สิ่งนี้สะท้อนผ่านผลการศึกษาที่ชี้ว่าคนชายขอบกลุ่มต่างๆ ทั้งคนจน คนที่ได้รับการศึกษาน้อย
คนชาติพันธุ์กลุ่มน้อยมักจะมีอายุเฉลี่ยที่น้อยกว่า อัตราการเสียชีวิตของเด็กแรกเกิดที่สูงกว่ากลุ่ม
คนส่วนใหญ่ของประเทศ ด้วยเหตุนี้เธอบอร์นจึงตั้งชื่อหนังสือว่า “ทุ่งสังหารของความเหลื่อมล้ำ”
(The Killing Fields of Inequality) (Therborn, 2013)
ความน่าสนใจในงานของเธอบอร์น นอกจากจะชี้ให้เห็นถึงผลที่ตามมาจากความเหลื่อมล้ำ
ยังชี้ให้เห็นถึง “กลไกการทำงานของความเหลื่อมล้ำ” ในสี่ลักษณะ ได้แก่ ประการแรก การสร้าง
ระยะห่าง (distanciation) กลไกดังกล่าวเกี่ยวข้องกับระบบหรือโครงสร้างที่คัดสรร “ผู้ชนะ” และ
เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 3 พื้นฐานให้กับเครือข่ายทางสังคม จากพื้นฐานดังกล่าวจะกำหนดเส้นทางชีวิตหลังจบการศึกษา
“ผู้แพ้” ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุดนั่นคือ บทบาทของครอบครัวที่เกื้อหนุน
บุตรหลานผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งการเลือกโรงเรียน การเสริมสร้างทักษะที่สำคัญ และการปู
ทั้งเส้นทางของการทำงาน รวมไปถึงสถานภาพทางสังคม กลไกประการที่สองคือ การขูดรีด
(exploitation) ที่เกี่ยวเนื่องกับความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมระหว่างสองฝ่าย โดยฝ่ายที่เหนือกว่า