Page 180 - kpi20756
P. 180

180     การประชุมวิชาการ
                    สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
            ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                  เนื่องจากโอกาสที่ผลประโยชน์ของชนชั้นนำจะสูญเสียไปหลังการเปลี่ยนผ่านจะมีมาก (Boix,
                  2003)


                       งานอีกชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งในกลุ่มนี้คืองานของดารอน อเซโมกลู และเจมส์ โรบินสัน
                  งานชิ้นนี้ทั้งสองได้ต่อยอดตรรกะที่ได้ขยายต่อจากงานของคุซเนตส์ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

                  โดยจำแนกสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำเป็นสามลักษณะ ที่ตัวแสดงสำคัญสองกลุ่ม นั่นคือ
                  ชนชั้นนำ และมวลชนจะมีการตอบสนองในแนวทางที่แตกต่างกัน ในสถานการณ์ลักษณะแรก

                  กรณีประเทศเผด็จการอำนาจนิยมที่ไม่มีปัญหาความเหลื่อมล้ำ หรือมีปัญหาความเหลื่อมล้ำ
                  ในระดับที่ต่ำ ในกรณีนี้โอกาสเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยจะค่อนข้างน้อย เนื่องจากมวลชนไม่ได้
                  ถูกบีบคั้นจากปัญหาความเหลื่อมล้ำ ทำให้อาจจะขาดแรงจูงใจที่จะเรียกร้องทั้งประชาธิปไตย และ

                  นโยบายการกระจายทรัพยากร ในสถานการณ์ลักษณะที่สอง กรณีประเทศเผด็จการอำนาจนิยม
                  ที่มีปัญหาความเหลื่อมล้ำในระดับสูง ในกรณีดังกล่าวอเซโมกลู และโรบินสันมีมุมมองลักษณะ

                  เดียวกับบอร์ซ ที่มองว่าด้วยความต้องการรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่ให้สั่นคลอน ชนชั้นนำ
                  จะทำทุกวิถีทางในการกดทับการเคลื่อนไหวเรียกร้องของมวลชนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง
                  การเมืองไปสู่ประชาธิปไตย ดังนั้นโอกาสของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยจะมีค่อนข้างน้อย

                  กรณีที่โอกาสเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่มากที่สุดคือกรณีที่ปัญหาความเหลื่อมล้ำอยู่ในระดับ
                  ปานกลาง ท่ามกลางบริบทดังกล่าวชนชั้นนำมีแนวโน้มจะมองว่าต้นทุนการปราบปรามประชาชน

                  ที่เรียกร้องประชาธิปไตยจะสูงกว่าต้นทุนของการดำเนินนโยบายกระจายทรัพยากร ขณะเดียวกัน
                  มวลชนจะมีแรงจูงใจในการเรียกร้องประชาธิปไตย เนื่องจากเล็งเห็นประโยชน์จากการกระจาย
                  ทรัพยากรหลังการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย (ดูตารางที่ 1)


                  ตารางที่ 2 การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยภายใต้สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำสามลักษณะ


                   ระดับความเหลื่อมล้ำ      จุดยืนชนชั้นนำ             จุดยืนมวลชน         โอกาสเปลี่ยนผ่าน

                          สูง         กดทับการเรียกร้องเพื่อปกป้อง เรียกร้องประชาธิปไตยเพื่อผล    ต่ำ
                                       ผลประโยชน์ที่เสียไปจากการ  ประโยชน์จากการกระจาย
                                           กระจายทรัพยากร                ทรัพยากร

                         กลาง         ประนีประนอมเนื่องจากต้นทุน เรียกร้องประชาธิปไตยเพื่อผล      สูง
                                       การกดทับมากกว่าต้นทุนการ   ประโยชน์จากการกระจาย
                                           กระจายทรัพยากร                ทรัพยากร

                          ต่ำ               รักษาสถานภาพ          ไม่มีแรงจูงใจในการเรียกร้อง     ต่ำ
                                                                       ประชาธิปไตย

        เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 3   จากเผด็จการอำนาจนิยมไปสู่ประชาธิปไตย นอกจากประเด็นดังกล่าวแล้วงานทั้งสองยังคง
                  ที่มา: ประมวลจาก (Acemoglu and Robinson, 2006)


                       ที่กล่าวมาเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำกับโอกาสของการเปลี่ยนผ่าน



                  กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำ และการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับ
                  ประชาธิปไตยอีกด้วย ในกรณีของประเทศประชาธิปไตยที่ประสบกับปัญหาความเหลื่อมล้ำ
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185