Page 69 - kpi20858
P. 69
26
ทัศนียวิทยาเชิงเส้น เป็นการสร้างภาพลวงตาโดยอาศัยระบบการคิดเชิงคณิตศาสตร์ เพื่อ
ก่อให้เกิดผลทางการเห็นแบบลึกลวงในผลงาน โดยมีเส้นเป็นองค์ประกอบหลัก ดังนั้นจึงมีความ
จ าเป็นต้องเข้าใจลักษณะของเส้นต่างๆ ดังนี้
เส้นระดับสายตา (Horizontal Line) หรือเรียกว่า เส้น Eye Level ซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างขอบ
ฟ้ากับพื้นดินออกจากกัน เส้นระดับสายตามีความส าคัญอย่างมากในการก าหนดมุมมองของวัตถุใน
ภาพ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
เส้นระดับตาปกติ หรือระดับสายตา (Man’s-Eye View) หมายถึงการมองจากระดับ
สายตาปกติ เส้นขอบฟ้าจะอยู่ตรงกลางระดับสายตาพอดี การมองระดับนี้จะมองเห็นวัตถุ
ระหว่างกึ่งกลาง เหมือนรูปทรงที่ไม่มีความลึกหรือหนา ลักษณะคล้ายรูปร่าง
เส้นระดับสายตาต ่า หรือแบบตานกมอง (Bird’s-Eye View) หมายถึง การมองจากที่สูง
ลงมา หรือระดับการมองวัตถุที่อยู่ต ่ากว่าระดับการมองปกติ ในลักษณะก้มหน้า ท าให้ภาพ
วัตถุที่มองเห็นอยู่ต ่ากว่าระดับสายตา จะเห็นส่วนของวัตถุเพียงด้านบนเท่านั้น
ระดับสายตาสูง หรือแบบตามดมอง (Ant’s Eye View) หมายถึง การมองจากระดับต ่า
ขึ้นมาหรือเป็นการมองวัตถุที่อยู่ระดับสูงกว่าระดับการมองเห็นปกติ ในลักษณะเงยหน้า ท าให้
35
ภาพวัตถุที่มองเห็นอยู่สูงกว่าระดับสายตา จะเห็นส่วนใต้ของวัตถุที่มองเห็นเพียงด้านเดียว
เส้นระดับสายตามีความส าคัญในการก าหนดระดับมุมมองที่มีต่อวัตถุ หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดภายใน
ผลงาน เส้นระดับสายตามีความเกี่ยวพันกับจุดรวมสายตา (Vanishing Point) หรือจุดจบ หรือจุด
อันตรธาน เป็นจุดที่ท าให้เกิดภาพที่ไกลออกไปจนลับสายตา โดยที่ประเภทของทัศนียวิทยาเชิงเส้นนั้น
สามารถแบ่งประเภทตามการก าหนดจุดรวมสายตา กล่าวคือ หากมีจุดรวมสายตา 1 จุด เรียก One
Point of Perspective หากเป็น 2 จุด เรียก Two Points of Perspective และ 3 จุด เรียก Three Points
Perspective เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเส้นน าสายตา ซึ่งเป็นเส้นขนานของวัตถุไปรวมอยู่ที่จุดรวมสายตา
และเส้นพื้น (Ground Line) เป็นเส้นที่ตั้งของวัตถุต่างๆ
35 วัชรพงศ์ หงษ์สุวรรณ, การเขียนแบบทัศนียภาพ (กรุงเทพฯ: วาดศิลป์ , 2551), 30-31.