Page 66 - kpi20858
P. 66

23






                       เป็นศิลปินอาชีพจึงจ าเป็นต้องศึกษา ฝึกฝน และพัฒนาทักษะทั้งด้านการวาด การปั้น การแกะสลักอย่าง
                       แข็งขัน เพื่อให้เกิดความยอมรับในสังคม


                              การสร้างผลงานศิลปกรรมทั้งจิตรกรรมและประติมากรรม  ต้องศึกษากายวิภาคเป็นพื้นฐาน

                       เพราะไม่เพียงแต่การค านึงถึงความสวยงามเท่านั้น ต าแหน่ง รูปทรง สัดส่วน และการทรงตัว ตลอดจน
                       การเคลื่อนไหวที่แสดงการท างานที่สอดสัมพันธ์กันระหว่างโครงสร้างและกล้ามเนื้อ ยังถือเป็นหลักส าคัญ

                       สูงสุดส าหรับการถ่ายทอดกายวิภาคที่งดงามตามแบบอย่างอุดมคติอีกด้วย


                              กายวิภาคที่ปรากฏในผลงานศิลปะตามหลักวิชา ซึ่งเป็นแนวทางศิลปะที่ได้รับความนิยมอย่าง
                       สูงในสมัยรัชกาลที่ 5 เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ 7 แนวทางดังกล่าวตั้งอยู่บนความถูกต้องและงดงามตาม

                       อุดมคติ  สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามรื้อฟื้นแนวคิดเรื่องความสมบูรณ์แบบคลาสสิกที่ปรากฏขึ้น

                       ตั้งแต่สมัยกรีก  ผลงานทั้งหมดแสดงความเหมือนจริงของกายวิภาค  ทั้งสัดส่วน  โครงสร้าง  และการ

                       ท างานของกล้ามเนื้อ ตลอดจนองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งประกอบสร้างขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผลงานเต็มเปี่ยม

                       ไปด้วยความงดงาม  ทั้งนี้เป็นผลมาจากปรัชญาของยุคสมัยที่ให้ความส าคัญกับการศึกษาธรรมชาติ
                       เป็นแม่แบบ  จนเกิดปรัชญาที่ว่า  “ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ”  ก่อเกิดสกุลความคิดแบบธรรมชาติ

                                       28
                       นิยม  (Naturalism)   แต่ทว่าศิลปินชาวกรีก  กลับมิได้ให้ความส าคัญต่อการน าเสนอเพียงแค่สภาวะที่
                       ปรากฏตามความเป็นจริงในโลกธรรมชาติเท่านั้น ผลงานงานของศิลปินข้ามผ่านความเหมือนจริงแบบ

                       ปกติสามัญ  ไปสู่การน าเสนอความงดงามสมบูรณ์พร้อมตามแบบอุดมคติ  โดยมีระบบเรขาคณิตเป็น
                       เครื่องมือในการเข้าถึงความงามของธรรมชาติ


                              การน าเสนอภายวิภาคมนุษย์  สัมพันธ์กับคณิตศาสตร์และสัดส่วนร่างกายของมนุษย์  ทั้งสอง

                       สิ่งนี้กลายเป็นสารัตถะหลักของ  “ทฤษฎีทางด้านสัดส่วน”  (Theory  of  Proportion)  และพัฒนาเป็น
                                                                                                           29
                       การศึกษาสัดส่วนของร่างกายมนุษย์ในเชิงสัมพันธ์กับเรขาคณิตจนเกิดเป็น “ร่างกายแบบคลาสสิก” ขึ้น

                              ชาวกรีกเชื่อว่าร่างกายของมนุษย์เป็นร่างกายที่สมบูรณ์ในเชิงอุดมคติ  ร่างกายแบบคลาสสิก

                       (Classic Body) เป็นร่างกายที่ถูกลบเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ อายุ หรือแม้แต่ศาสนาออกไป จนเหลือแต่ความ

                       เป็นอุดมคติภายใต้สัดส่วนทางคณิตศาสตร์ที่ถือว่างดงาม  และเป็นตัวแทนของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์



                           28   สันติรักษ์  ประเสริฐสุข,  สุนทรียศาสตร์และทฤษฎีสถาปัตยกรรมตะวันตก:  จากคลาสิกถึงดีคอนสตรัคชัน

                       (กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2552), 27-28.
                           29  เรื่องเดียวกัน, 34.
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71