Page 65 - kpi20858
P. 65
22
เผยแพร่วิชาความรู้จากสถาบันศิลปะแห่งนี้เป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง ที่ท าให้สังคมไทยตื่นตัวกับกระแสศิลปะ
ตามหลักวิชาในวงกว้างมากยิ่งขึ้น
วิชาอันเป็นแนวคิดตะวันตกที่มีอิทธิพล ส่งผลให้เกิดรูปแบบใหม่ในผลงานศิลปกรรมรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เด่นชัดคือ กายวิภาค ทัศนียวิทยา ตลอดจนทฤษฎีแสงเงา ซึ่ง
สามารถกล่าวถึงในรายละเอียดพอสังเขปได้ ดังนี้
2.1.1.1.1 กายวิภาค
ร่างกายมนุษย์ได้รับการยกย่องว่ามีความงาม และกลายเป็นแหล่งที่มาหลักของแรงบันดาลใจ
ส าหรับศิลปินหลายยุคสมัย โดยเฉพาะในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ศิลปินต่างสร้างผลงานเพื่อถ่ายทอด
ความงามแบบอุดมคติตามแบบอย่างศิลปะคลาสสิก ศิลปินหลายท่านให้ความสนใจศาสตร์ด้านกาย
วิภาค (Anatomy) ไม่เพียงแต่พยายามท าความเข้าใจในสรีระโครงสร้างภายนอกของมนุษย์และสัตว์
เท่านั้น แต่ทว่ายังสนใจศึกษาอย่างลึกซึ้งไปจนถึงการท างานของกล้ามเนื้อภายใต้ผิวหนัง ที่ท างาน
สัมพันธ์กับโครงสร้างของกระดูกอีกด้วย ความสนใจใคร่รู้นี้น าไปสู่ความร่วมมือทางการแพทย์เพื่อผ่า
ร่างกายผู้เสียชีวิต ยังผลให้เกิดคุณูปการต่อวงการแพทย์และวงการศิลปะในเวลาต่อมา
กายวิภาคเป็นศาสตร์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อศึกษาโครงสร้าง สัดส่วนของสิ่งมีชีวิต
Anatomy มาจากภาษากรีก “Ana” หมายถึง ขึ้น ส่วน “Tome” หมายถึงการตัด โดยอาจมีที่มาจาก
26
กระบวนการศึกษาที่เกิดจากการผ่าตัด ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ซึ่งมีความส าคัญต่อแนวทางแบบ
ศิลปะตามหลักวิชา ซึ่งให้ความส าคัญต่อการศึกษากายวิภาคศาสตร์เฉกเช่นเดียวกับศิลปินก่อนหน้า
การน าเสนอเรือนร่างมนุษย์ของทั้งจิตรกร และประติมากรต่างเคร่งครัดต่อการแสดงออก เพื่อ
ให้เกิดผลทางสายตาที่ถ่ายทอดความงามสมบูรณ์พร้อม ทั้งสัดส่วน โครงสร้าง และกล้ามเนื้อ ความ
ถูกต้องสมจริงนับว่ามีความส าคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินคุณค่าของผลงานแนวทางนี้ ซึ่งปรากฏในข้อ
เขียนของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีที่กล่าวถึงความส าคัญของกายวิภาคว่า “ถ้าโครงสร้างของสิ่งใดที่
เนื่องด้วยกายวิภาคเป็นอันถูกต้อง ก็จะเห็นสิ่งนั้นมีความประสานเข้ากันดิบดี” ดังนั้นก่อนก้าวขึ้นมา
27
26 Dartmouth College Etymology, Accessed May 23, 2019 Available from https://www.dartmouth.edu/~
humananatomy/resources/etymology.htm
27 ศิลป์ พีระศรี, พิมพ์ครั้งที่ 4, แปลโดย พระยาอนุมานราชธน, ศิลปะสงเคราะห์: พจนานุกรมศัพท์ศิลปะตะวันตก, 31.