Page 73 - kpi20858
P. 73
30
คริสต์ศตวรรษที่ 18 อาทิ คาราวัจโจ (Caravaggio) แรมบรันดท์ (Rembrandt) ปีเตอร์ พอล รูเบนส์
(Peter Paul Rubens) และดิเอโก เวลาสเกซ (Diego Velázquez) เป็นต้น
42
การสร้างระยะภายในภาพด้วยบรรยากาศของสียังเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ เลโอนาร์โด ดา วินชี ศิลปิน
ผู้เฝ้าศึกษาและสังเกตธรรมชาติได้คิดค้นขึ้น โดยน าเสนอรูปทรงของวัตถุต่างๆ ด้วยเส้นขอบนุ่ม และ
ค่อยๆ พร่าเลือนเมื่ออยู่ในระยะที่ไกลออกไป ประกอบกับการก าหนดใช้สีอ่อนจาง ราวกับก าลังถูกปก
43
คลุมด้วยม่านหมอกที่ระยะหลังของภาพ เรียกเทคนิคนี้ว่า สฟูมาโต (Sfumato) กล่าวได้ว่าความคม
ชัดและพร่าเลือนของเส้นขอบรอบนอกของรูปทรงนั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากตัวแปรด้านสภาพอากาศ
และระยะภายในผลงาน
การก าหนดค่าต่างแสงของรูปทรงที่ระยะหน้าและที่ระยะหลังให้แตกต่างกัน ตลอดจนการ
ก าหนดขอบรอบนอกของรูปทรง และความเข้มของสีในระยะหน้าให้ชัดเจน และในระยะหลังให้พร่า
เลือนนี้ เป็นการอาศัยคุณสมบัติของสี และแสง-เงา ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการรับรู้ของผู้ชม กระตุ้นเร้า
ความรู้สึกเชิงจิตวิทยา สามารถสร้างให้เกิดมวลบรรยากาศอันแสดงความลึกลวงภายในผลงานได้ ถือ
เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมแก่การใช้จ าลองสร้างโลกสามมิติบนผืนระนาบสองมิติได้เป็นอย่างดี
การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมและประติมากรรมด้วยแนวทางศิลปะตามหลักวิชา ซึ่งยึดถือหลัก
เกณฑ์ของความสมจริง มีการศึกษาธรรมชาติเป็นแม่แบบเฉกเช่นเดียวกับแนวทางที่เกิดขึ้นในสมัย
ฟื้นฟูศิลปวิทยาการ โดยมีลักษณะของการให้ความส าคัญต่อการก าหนดค่าต่างแสง และใช้สีดังที่
ปรากฏตามธรรมชาติ มีการใช้สีสดใสเพียงเล็กน้อย ทาสีเกลี่ยเรียบไม่ปรากฏร่องรอยฝีแปรง ตลอดจน
การเคลือบเงาบนผิวหน้าของงานจิตรกรรม เป็นแนวทางการสร้างงานที่ด าเนินต่อเนื่อง และได้รับ
44
ความนิยม เป็นศิลปะกระแสหลักที่รับรองโดยสถาบันศิลปะชั้นน าในยุโรป ตลอดจนสถาบันศิลปะที่
ปรากฏในสยามประเทศด้วย
42 Encyclopaedia Britannica, Chiaroscuro, accessed June 26, 2019 available from https://www.britannica.com
/art/chiaroscuro
43 ค าว่า "Fumo" ในภาษาอิตาลี หมายถึง “ควัน” อ้างจาก Essential vermeer, Sfumato, accessed July,25, 2019,
available from http://www.essentialvermeer.com/glossary/glossary_q_z.html#shadow
44 visual-arts-cork.com., Academic Art, accessed July, 25, 2019, available from http://www.visual-arts-
cork.com/history-of-art/academic-art.htm#characteristics