Page 74 - kpi20858
P. 74

31






                       2.1.2 ขนบนิยมในงานศิลปกรรมไทย

                              อารยธรรมอินเดียที่เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่  10-11 ก่อให้เกิด

                       วัฒนธรรมที่เรียกว่า ทวาราวดี ซึ่งนับถือพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้ศิลปกรรมต่างๆ จึงถูกเนรมิตขึ้น ภายใต้
                       กรอบการน าเสนอที่เกี่ยวเนื่องกับความต้องการทางศาสนาเป็นหลัก


                              การสร้างงานศิลปกรรมของไทย ทั้งด้านจิตรกรรมและประติมากรรม มีแนวทางที่ปฏิบัติสืบต่อ
                                                                                   45
                       กันมา เรียก ขนบนิยม ซึ่งค าว่า ขนบ หมายถึง แบบแผนที่กระท ากันมา  ดังนั้นขนบนิยมคือ แบบแผน
                       ซึ่งมีความนิยมสร้างสรรค์ของช่างไทยที่กระท าสืบทอดต่อกันมา อาศัยการส่งต่อกันแบบสกุลช่าง ทว่าก็

                       มิได้มีแบบยึดตายตัว  หากแต่มีการปรับประยุกต์ให้เกิดความงดงามที่สอดคล้องกับค่านิยมของคนใน

                       ชาติและยุคสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งลักษณะของความเป็นไทย

                              ทั้งนี้สามารถจ าแนกหัวข้อของการศึกษาออกเป็น 2 ประเภทคือ ขนบนิยมด้านการสร้างผลงาน

                       จิตรกรรมของไทย  และขนบนิยมด้านการสร้างผลงานประติมากรรมของไทยในช่วงก่อนรัชสมัย

                       พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งในเนื้อหานี้มีความมุ่งเน้นกล่าวถึงด้าน  การน าเสนอรูปทรง

                       มุมมอง  และลักษณะการใช้สี  เพื่อเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นวิถีการแสดงออกระหว่างแนวทางศิลปะ

                       แบบตะวันตกและศิลปกรรมของไทย


                              2.1.2.1 ขนบนิยมในงานจิตรกรรมไทย

                              จิตรกรรมเป็นประหนึ่งเครื่องมือที่ส่งเสริมโน้มน าให้พุทธศาสนิกชนเกิดความเลื่อมใส  ศรัทธา

                       ในหลักค าสอนทางศาสนาพุทธ  ลักษณะเด่นของงานจิตรกรรมไทยเป็นศิลปะที่แสดงการสื่อสารด้วย

                       ภาพ  ซึ่งภาษาภาพนั้นมีพลังในการสะท้อนความคิดเชิงนามธรรมของหลักศาสนาให้กระจ่างชัดในการ
                       รับรู้ได้ ทั้งนี้สามารถสรุปลักษณะส าคัญของงานจิตรกรรมตามขนบโดยสังเขป ได้ดังนี้


                              จิตรกรรมไทยแบบประเพณี มีลักษณะด าเนินตามขนบ ในช่วงเริ่มต้นได้รับอิทธิพลจากศาสนา

                       ของอารยธรรมอินเดีย  ซึ่งเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยที่  เมื่อเข้าสู่สมัยสุโขทัยในช่วงเริ่มต้น  ราวปลาย
                       พุทธศตวรรษที่ 18 เกิดมีการติดต่อกับพม่าและลังกา ท าให้จิตรกรรมสมัยสุโขทัยมีอิทธิพลของจิตรกรรม

                       พม่าและลังกา ถึงกระนั้นจิตรกรรมไทยยังคงแสดงเอกลักษณ์ที่เด่นชัดตามลักษณะไทย สืบทอดมาสู่




                           45   ส านักงานราชบัณฑิตยสภา,  ขนบ,  เข้าถึงเมื่อ  11  มิถุนายน  2562,  เข้าถึงได้จาก  http://www.royin.go.th/?
                       knowledges
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79