Page 70 - kpi20858
P. 70

27






                              2.1.1.1.2.2 ทัศนียวิทยาแบบบรรยากาศ

                              บางครั้งเรียกว่า  Atmospheric  Perspective  เป็นวิธีการสร้างระยะในผลงาน  โดยอาศัย

                       คุณสมบัติของสี หรือเรียก Color perspective จากหลักฐานปรากฏว่าทัศนียวิทยาแบบบรรยากาศเป็น
                       ที่รู้จักของศิลปิน ตั้งแต่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ซึ่ง เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) เป็นผู้ใช้

                       ค าว่า  Aerial  perspective  ในต าราของเขาชื่อ  Trattato  della  pittura  ว่าด้วยทฤษฎีจิตรกรรม  ที่ได้

                                                                                      36
                       บันทึกว่า “สีจะค่อย ๆ อ่อนค่าลงตามระยะทางที่ผู้มองมีต่อวัตถุหรือสิ่งนั้น”
                              สีในระยะไกลที่อ่อนค่าลงนั้นเป็นผลมาจากฝุ่นหรืออนุภาคต่าง  ๆ  ในบรรยากาศ  สัมพันธ์กับ

                       การกระเจิงของแสง  ซึ่งส่งผลต่อการมองเห็นของมนุษย์  จิตรกรจึงสร้างผลงานที่ถ่ายทอดทัศนียภาพ

                       ของธรรมชาติ  เพื่อให้เกิดความลึกและตื้นจากการอาศัยการก าหนดค่าน ้าหนักหรือความสดจัดของสี

                       หลักการนี้มีความโดดเด่นอยู่ในความเคลื่อนไหวทางศิลปะในช่วงศตวรรษที่  19  โดยศิลปินลัทธิ
                       อิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism) ในเวลาต่อมา และยังคงได้รับความนิยมจนกระทั่งปัจจุบัน


                              หากกล่าวถึงผลงานศิลปะตามหลักวิชาแล้วนั้น  มีการถ่ายทอดผลงานตามแนวทางสมัยฟื้นฟู

                       ศิลปวิทยาการ  ซึ่งมักมีการแสดงออกด้วยทัศนียวิทยาเชิงเส้นเป็นหลัก  โดยมีการใช้เส้นน าสายตาเพื่อ

                       เชื่อมโยงความสนใจของผู้ชมให้เลื่อนเข้าหาจุดรวมสายตาที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของภาพ  โดยเฉพาะ
                       ที่กึ่งกลางของภาพ  ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากค่านิยมของการน าเสนอองค์ประกอบที่มักวางบุคคลส าคัญ

                       ไว้ที่กึ่งกลางของภาพให้ผลส่งเสริมคตินิยมแบบอุดมคติ


                              การสร้างความสมจริงให้ปรากฏในผลงานของศิลปิน  นอกจากต้องค านึงถึงการสร้างระยะเพื่อ
                       ให้เกิดมิติในผลงานแล้วนั้น  สี  และแสงเงายังเป็นส่วนส าคัญที่ท าให้เป้าหมายของความงามแบบอุดม

                       คติได้สัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้นไป


                              2.1.1.1.3 สี และแสง-เงา


                              สี  เป็นทัศนธาตุที่ส าคัญต่อการสร้างสรรค์ทางศิลปะ  ด้วยเหตุที่สีมีอิทธิพลต่อการกระตุ้นเร้า
                       เชิงจิตวิทยา การน าเสนอสีของศิลปินในอดีต มุ่งน าเสนอตามหลักความจริงเชิงประจักษ์ จนกระทั่งเมื่อ







                           36   Encyclopaedia  Britannica,  Aerial  perspective,  accessed  May  24,  2019  available  from  https://www.
                       britannica.com/art/aerial-perspective
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75