Page 75 - kpi20858
P. 75

32






                       สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยนี้เองที่จิตรกรรมไทยประเพณีได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน และเด่นชัดมาก ใน
                       สมัยกรุงรัตนโกสินทร์  ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   จากนั้นอิทธิพลจากอารย
                                                                                    46
                       ธรรมตะวันตกได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงลักษณะบางประการในจิตรกรรมไทยประเพณี  ให้ก้าวเข้าสู่การ

                       แสดงออกที่เป็นสากลยิ่งขึ้น

                              จิตรกรรมไทยประเพณีแสดงความงามแบบอุดมคติ น าเสนอสภาพการณ์ที่แตกต่างไปจากโลก

                       แห่งความเป็นจริงทางธรรมชาติ  ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักความเชื่อทางศาสนาที่ผูกพันกับ

                       ปรัชญาและแนวคิดเชิงนามธรรมอันลึกซึ้ง  ประกอบกับช่างไทยถือว่าความงามที่ปรากฏตามธรรมชาติ

                       ทั่วไป  เป็นความงามแบบปกติธรรมดา  จึงปรุงแต่งจิตรกรรมของตนให้เน้นหนักไปในทางความงามที่
                                                                47
                       ระคนอยู่ด้วยปรัชญาศิลปะที่เกี่ยวข้องกับศาสนา   ดังนั้นการถ่ายทอดด้วยรูปลักษณ์แบบอุดมคติจึง
                       ก่อให้เกิดความสอดคล้องกันทั้งเรื่องราวและรูปแบบ



                            2.1.2.1.1 รูปทรงในงานจิตรกรรมไทยประเพณี

                            รูปลักษณะของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตส่วนใหญ่ในงานจิตรกรรมไทยประเพณี เกิดจากการประดิษฐ์

                       ให้มีลักษณะข้ามพ้นไปจากความเป็นจริง เรือนร่างของมนุษย์ถูกลดทอนส่วนละเอียดของรูปทรงมนุษย์
                       ลง คงไว้เพียงแต่สาระที่ส าคัญ น าเสนอเพียงความเรียบง่าย  ไม่แสดงกล้ามเนื้อที่ถูกต้องตามหลักวิชา

                       แบบตะวันตก  มีการแสดงออกด้วยเส้นสายที่อ่อนหวานโดดเด่น  ท่าทางของรูปมนุษย์ได้รับการแต่ง

                       เสริมให้มีลีลาอ่อนช้อยเชิงนาฏลักษณ์  (Dramatic)  แสดงอารมณ์ผ่านอากัปกิริยา  นอกจากนี้รูปทรง

                       มนุษย์ไม่แสดงอายุหรือช่วงวัย  บนใบหน้าของทั้งพระและนางไม่แสดงอัตลักษณ์บุคคล  คือมีความ
                       ละม้ายคล้ายกัน  หากแต่แตกต่างกันเพียงเครื่องตกแต่ง  หรือลวดลายบนเครื่องแต่งกาย  และท่าทาง

                       เท่านั้น นอกจากนี้จิตรกรรมไทยยังไม่ค านึงถึงความสัมพันธ์ทางสัดส่วนระหว่างรูปทรง เช่น ตัวพระที่นั่ง

                       อยู่ในปราสาทราชมณเฑียร  หากยืนขึ้นอาจมีสัดส่วนที่สูงใหญ่ผิดไปจากความเป็นจริง  ด้านรูปทรง

                       มนุษย์ในงานจิตรกรรมไทยนั้น สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ได้แบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้







                           46   คณะกรรมการโครงการสารานุกรมไทยฉบับเยาวชน,  จิตรกรรมในพุทธศาสนา,  เข้าถึงเมื่อ  26  มิถุนายน  2562
                       เข้าถึงได้จาก http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=20&chap=3&page=t20-3-infodetail02.html

                           47   สุรศักดิ์  เจริญวงศ์,  ขนบนิยมในการสร้างสรรค์และการน าเสนอจิตรกรรมไทยประเพณี  (เอกสารประกอบการ
                       สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง วันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2536 คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร), 8.
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80