Page 78 - kpi20858
P. 78
35
แบบตานกมองก็จริง แต่เมื่อพิจารณาดูรูปทรง ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนใดของผนัง ส่วนล่าง ส่วนบน ด้านซ้าย
หรือด้านขวาจะมีขนาดและความคมชัดเท่ากัน และทัศนียภาพโดยส่วนรวมจะมีแต่ความกว้างและ
50
ความยาว ไม่มีความหนาและความลึกของรูปทรง อย่างไรก็ตามผู้ชมสามารถรับรู้ได้ถึงระยะจาก
ต าแหน่งที่มอง และรู้สึกได้ว่าส่วนที่อยู่ใกล้ตัวคือการแสดงภาพในระยะหน้า และภาพที่ไกลตัวผู้ชม
ออกไปคือระยะหลัง ถือเป็นการก าหนดองค์ประกอบอย่างชาญฉลาดของช่างไทย นอกจากนี้รูปทรงไม่
ว่าจะถูกจัดจะอยู่ส่วนใดของผนัง ขนาดของรูปทรงเหล่านั้นกลับมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน มิได้ยึดตามหลัก
ความเป็นจริง ที่วัตถุที่อยู่ในระยะใกล้ต้องมีขนาดใหญ่กว่าวัตถุที่อยู่ในระยะไกลเสมอ ท าให้ผู้ชม
มองเห็นรูปทรงที่ด้านหน้าและด้านหลังมีขนาดใกล้เคียงกัน ดังนั้นการน าเสนอภาพที่มีมุมมองแบบคลี่
ขยาย และการน าเสนอมุมมองที่คล้ายกับการมองจากที่สูงลงสู่ที่ต ่านี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงรายละเอียด
ในส่วนต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด และมักมีการจัดจุดเด่นของผนังหนึ่ง ๆ กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของ
กลุ่มรูปทรงบนผนัง เป็นการมองแบบกระจายจุดเด่นหลายจุด มากกว่าจะน าเสนอจุดเด่นเพียงจุดใด
จุดหนึ่งทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อการสร้างภาพที่มีลักษณะคล้ายการเล่าเรื่องนั่นเอง
ด้านมุมมองที่แสดงการเล่าเรื่อง ช่างเขียนสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และกรุงรัตนโกสินทร์
ตอนต้น ยังประดิษฐ์กรอบรูปสามเหลี่ยม ที่ขอบหยักคล้ายฟันปลา เรียกว่า "สินเทา" เป็นเส้นที่ถูกสร้าง
ขึ้นเพื่อแบ่งฉากเหตุการณ์หนึ่งให้แยกออกจากฉากอีกเหตุการณ์หนึ่ง วิธีการนี้ยังได้ผลดีในการเน้นฉาก
เหตุการณ์ให้เด่นชัด นับเป็นงานออกแบบที่งดงาม และแนบเนียน สอดคล้องกับลักษณะแสดงออก ที่
เป็นอุดมคติ ซึ่งแตกต่างจากจิตรกรรมเล่าเรื่องจริง อันเป็นแนวสัจนิยม ที่เข้ามาแพร่หลายเป็นที่นิยม
พร้อมกับวัฒนธรรมตะวันตก ภาพเขียนเช่นนี้จะไม่มีลักษณะอุดมคติเข้าปะปน
51
2.1.2.1.3 การลงสี
งานจิตรกรรมไทยมีลักษณะเป็นภาพเขียนแบบ 2 มิติ คล้ายภาพเล่าเรื่อง ที่แสดงฉากตอน
หลากหลายบนผนังเดียวกัน การน าเสนอภาพแบบ 2 มิตินี้ อาจเนื่องมาจากสามารถเน้นจุดสนใจได้
หลายจุดบนผนังเดียว และช่วยให้จิตรกรสามารถแสดงเรื่องราวได้อย่างละเอียด ประกอบกับภาพ
ลักษณะ 2 มิติ ยังสามารถสร้างจินตนาการตามเรื่องราวได้กว้างไกลกว่าที่ตาเห็น ส่งเสริมให้เกิดความ
50 สุรศักดิ์ เจริญวงศ์, ขนบนิยมในการสร้างสรรค์และการน าเสนอจิตรกรรมไทยประเพณี, 8-9.
51 คณะกรรมการโครงการสารานุกรมไทยฉบับเยาวชน, จิตรกรรมในพุทธศาสนา.