Page 77 - kpi20858
P. 77

34






                              จากระดับต่าง ๆ ข้างต้น แสดงให้เห็นถึงขนบนิยมที่มีความเคร่งครัดและผ่อนปรนในบางระดับ
                       ของกลุ่มรูปทรง กล่าวคือในระดับที่ 1 รูปแบบอุดมคติแสดงด้วยรูปทรง เทวดา เทวดา กษัตริย์ พระหรือ

                       นาง  มีขนบในการสร้างสรรค์ที่เคร่งครัดมากที่สุด  เนื่องจากเป็นแบบแผนที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่าง

                       ยาวนาน  ประกอบกับมีโครงของเรื่องราวก ากับให้รูปลักษณ์ของกลุ่มคนเหล่านี้มีความพิเศษแบบอุดม

                       คติแตกต่างไปจากกลุ่มคนในระดับอื่นๆ จากลักษณะรูปแบบที่ได้รับการก าหนดเป็นแบบอย่าง ซึ่งเรียก
                       ได้ว่าเป็น  ขนบนิยม  นี้เองท าให้รูปร่างหน้าตาของตัวภาพอยู่ในแบบฉบับเดียวกันหมด  มิได้แสดง

                                                                 49
                       ลักษณะเฉพาะของตัวละครในวรรณคดีแต่ละเรื่อง   อย่างไรก็ตามในระดับที่  2  รูปแบบผสมอารมณ์
                       ความเป็นจริง ได้แก่ รูปทรงที่เป็นข้าราชส านัก นักดนตรี และชนชั้นสูงนั้น เริ่มมีความผ่อนปรนลงระดับ

                       หนึ่ง  โดยสามารถพบการน าเสนออารมณ์ซึ่งปรากฏให้เห็นได้บนใบหน้า  ส่วนในระดับที่  3  รูปแบบ
                       เลียนแบบความเป็นจริง เป็นรูปทรงที่แสดงออกด้วยภาพชาวบ้านสามัญชนธรรมดา ช่างมีอิสระในการ

                       ถ่ายทอดอารมณ์  หรือความรู้สึกบางประการที่เกิดจากประสบการณ์ร่วมในสังคม  สามารถสอดแทรก

                       บรรยากาศ  หรือเกร็ดทางประวัติศาสตร์  ความเป็นอยู่ของคนร่วมสมัยลงบนผลงานได้  โดยที่สามารถ

                       น าเสนอภาพได้ตามความเป็นจริง ทั้งนี้ในระดับที่ 4 รูปแบบเกินความเป็นจริง มีรูปทรงแสดงออกคือ รูป

                       สัตว์นรกและลักษณะขุมนรกต่าง ๆ เปรต อสุรกาย หรือคนที่รับทุกข์ในนรก เป็นภาพเกิดขึ้นโดยอาศัย
                       จินตนาการ เพื่อปลุกกระตุ้นให้เกิดอารมณ์อันน่าสะพรึงกลัว หรือความสลดหดหู่ ถือเป็นกลุ่มรูปทรงที่

                       ศิลปินสามารถมีอิสระในการสร้างสรรค์มากที่สุด


                              การน าเสนอรูปทรงมนุษย์ และสรรพสิ่งแห่งโลกวัตถุในงานจิตรกรรมประเพณีของไทย ก่อก าเนิด
                       ขึ้นจากการคลี่คลายรูปทรงให้ออกห่างไปจากความจริง  ยังผลเพื่อสะท้อนแนวคิดเชิงอุดมคติ  อันเกี่ยว

                       ข้องกับศาสนาซึ่งเป็นสภาวะนามธรรม  อาจกล่าวได้ว่าการสร้างงานจิตรกรรมด้วยรูปแบบเหมือนจริง

                       นั้นไม่สามารถเข้าถึงภาวะดังกล่าวได้ดี  เท่ากับรูปทรงอันเกิดจากการคลี่คลายไปสู่การแสดงออกแบบ

                       อุดมคติตามขนบที่ช่างชาวไทยต่างยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมา


                              2.1.2.1.2 มุมมองและการสร้างระยะในงานจิตรกรรมไทย

                              ด้านการน าเสนอทัศนียภาพในงานจิตรกรรมไทยนั้น มีการน าเสนอภาพแบบแผ่ขยาย เพื่อถ่าย

                       ทอดเรื่องราวต่างๆ บนผนังได้อย่างเต็มพื้นที่ ช่างไทยมิได้ค านึงถึงความเป็นจริงทางทัศนียภาพ แต่ละ

                       รูปทรงตั้งซ้อนกันแบบเส้นขนาน  ทุกรูปทรงตั้งอยู่บนพื้นเดียวกัน  ภาพโดยส่วนรวมคล้ายมองจากที่สูง


                           49  วิทย์ พิณคันเงิน, งานช่างเขียนของไทย (กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์, 2547), 27.
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82