Page 79 - kpi20858
P. 79

36






                       กลมกลืนระหว่างคุณค่าทางเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพุทธปรัชญาอันลึกซึ้ง  กับคุณค่าทางรูปทรงซึ่งเป็น
                       อิสระจากการยึดติดอยู่กับความถูกต้องสมจริงตามธรรมชาติ


                              ภาพจิตรกรรมไทยมักมีการแสดงออกในลักษณะแบน และไม่ค านึงถึงการสร้างบรรยากาศเพื่อ

                       ผลักระยะ  จึงท าให้ต่างไปจากจิตรกรรมแบบตะวันตก  นอกจากนี้ยังมิได้ให้ความส าคัญกับการแสดง
                       ภาพที่สมจริงทางแสงและเงา ภาพในจิตรกรรมเหมือนมีแสงเงาในตัวเองทุกด้านทุกรูปทรง ทุกสิ่งในทุก

                       ส่วนของผนังมีความชัดเจน ภาพไม่แสดงความรู้สึกเกี่ยวกับบรรยากาศของกาลเวลา   โดยมากบุคคล
                                                                                              52
                       ส าคัญของเรื่อง ซึ่งมักเป็นชนชั้นสูงจะได้รับการก าหนดรายละเอียดอย่างประณีตบรรจง ประกอบกับมี

                       การใช้สีเพื่อขับเน้นความส าคัญของบุคคลให้โดดเด่นยิ่งขึ้น  เช่น  สีผิวกายสีเนื้ออ่อน  สวมใส่เครื่อง
                       ประดับซึ่งเกิดจากการปิดทองแล้วตัดเส้น เป็นต้น



                              2.1.2.2 ขนบนิยมในงานประติมากรรมไทย

                              ประติมากรรมไทยเป็นการน าเสนอผลงานทางทัศนศิลป์ แขนงหนึ่ง  ประกอบไปด้วยวิธีการปั้น

                       การแกะสลัก  ตลอดจนการหล่อ  การสร้างประติมากรรมตามขนบนิยม  หรืองานประติมากรรมแบบ

                       ดั้งเดิมนั้นเป็นเช่นเดียวกันกับงานจิตรกรรม ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองต่อความศรัทธาทางศาสนา
                       ตลอดจนสถาบันกษัตริย์เป็นหลัก เช่น  พระมหากษัตริย์ทรงสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้เป็นพุทธบูชา หรือ

                       สร้างเทวรูปเพื่อเป็นเทวบูชา  อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้แก่ผู้คนในสังคม  อีกทั้งยังมีการสร้าง

                       ลวดลายปูนปั้น  เพื่อประดับตกแต่งศาสนสถาน  ตลอดจนพระราชวังให้เกิดความงดงามวิจิตร  อาจ

                       กล่าวได้ว่าประติมากรหรือช่างในอดีตสร้างสรรค์ผลงานตั้งแต่ขนาดเล็ก อาทิ สิ่งตกแต่ง หรือเครื่องลาง
                       ของขลัง ไปจนถึงผลงานที่เป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ เช่น การหล่อพระพุทธรูป หรือเทวรูป เป็นต้น

                       ทั้งนี้ประติมากรรมของไทยแบบดั้งเดิมของไทย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ


                                  ประเภทที่ 1 ประติมากรรมรูปคน ได้แก่ การสร้างเทวรูปตามคติฮินดู การสร้างพระพุทธรูป
                            เทวดา นางฟ้า ยักษ์ตามคติพุทธศาสนา ฝ่ายหินยาน และมหายาน มักสร้างด้วยทองสัมฤทธิ์

                            ปูนปั้น ดินเผา และไม้จ าหลัก

                                  ประเภทที่ 2 ประติมากรรมตกแต่ง ส่วนใหญ่สร้างไม้ และปูนปั้น ให้เป็นเครื่องประดับ

                            ตกแต่งทั้งภายนอกและภายในโบสถ์วิหาร ปราสาทราชวัง เช่น ลายหน้าบัน คันทวย บัวหัวเสา
                            ลายกรอบซุ้มประตูหน้าต่าง ฯลฯ นอกจากนั้นยัง ประกอบฐานสถูปเจดีย์ ซุ้มพระพุทธรูป และ


                           52  สุรศักดิ์ เจริญวงศ์, ขนบนิยมในการสร้างสรรค์และการน าเสนอจิตรกรรมไทยประเพณี, 8-9.
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84