Page 80 - kpi20858
P. 80

37






                            ฐานชุกชี  บัวพระที่นั่งบัลลังก์และอื่นๆ  บรรดาเครื่องตกแต่งดังกล่าวมานี้  มีอยู่ทุกลักษณะ
                            ตั้งแต่ภาพนูนต ่า นูนสูงจนถึงภาพลอยตัว
                                                             53

                              ประติมากรรมไทยแบบดั้งเดิมนี้มีการกระท าสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน  โดยเริ่มตั้งแต่สมัย
                       เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์ อย่างไรก็ตามในงานวิจัยนี้จะมุ่งเน้นกล่าวถึงเพียง

                       ประติมากรรมประเภทที่  1  ประติมากรรมรูปคนเท่านั้น  เนื่องจากสามารถน าไปใช้เปรียบเทียบกับแนว

                       ทางการแสดงออกของช่างหรือศิลปินที่รับเอาแนวคิดเรื่อง  การสร้างประติมากรรมรูปมนุษย์มาจาก

                       อิทธิพลศิลปะตะวันตก ซึ่งมีปรากฏเด่นชัดในงานประติมากรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์

                              สังคมไทยด ารงชีวิตผูกพันเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง  ดังนั้นรูปแบบของประติมากรรม

                       จึงเป็นรูปทรงแห่งวัตถุ  ที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้น  เพื่อเป็นสิ่งแทน  เป็นสิ่งพรรณนาความรู้สึก  อุดมคติ

                       และความเชื่อที่เป็นนามธรรมออกมาเป็นรูปธรรม  ลักษณะรวมของประติมากรรมในแต่ละสมัยก็ย่อม
                                                                54
                       แตกต่างกันตามค่านิยมและอุดมคติการการสร้างงานในแต่ละยุค



                       2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                              การค้นคว้าในหัวข้อนี้มีความเกี่ยวข้องกับการส ารวจงานวิจัย  ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการ

                       ศึกษาศิลปกรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในประเด็นเรื่องงานจิตรกรรมและ

                       ประติมากรรม ที่อยู่ในขอบข่ายของระยะเวลาในการศึกษา คือ พ.ศ.2468-2477 เท่านั้น โดยสามารถ
                       สรุปเป็นด้านจิตรกรรม และประติมากรรมได้ดังนี้


                              2.2.1  จิตรกรรม


                              การศึกษาถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเด็นของงานจิตรกรรมนั้น พบว่ามีผู้ศึกษาวิจัยเรื่อง
                       จิตรกรรมที่อยู่ในขอบข่ายของรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ

                       จิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ซึ่งมักเป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นวิเคราะห์ในสิ่ง

                       จ าเพาะเจาะจงในส่วนรายละเอียด  กล่าวคือ  ในปี  พ.ศ.2550  สนั่น  รัตนะ  ศึกษาภาพพระราชพิธีที่





                           53   คณะจิตรกรรม  ประติมากรรมและภาพพิมพ์  มหาวิทยาลัยศิลปากร,  สมุดภาพประติมากรรมกรุงรัตนโกสินทร์
                       (กรุงเทพฯ: กราฟิคอาร์ต, 2525),12.

                           54  คณะกรรมการโครงการสารานุกรมไทยฉบับเยาวชน, ประติมากรรมไทย,  เข้าถึงเมื่อ 26 มิถุนายน 2562 เข้าถึงได้จาก
                       http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=14&chap=3&page=t14-3-infodetail02.html
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85