Page 81 - kpi20858
P. 81

38






                       ปรากฏในงานจิตรกรรมบนพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ในปีเดียวกันนี้  วิฑูรย์  ไชยดี  จาก
                       สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์   ซึ่งได้ท าการวิจัยเรื่อง  “ภาพทิวทัศน์ที่ปรากฏบนพระระเบียงวัดพระศรีรัตน

                       ศาสดาราม”


                              ต่อมาในปี พ.ศ.2552 ธศร ยิ้มสงวน ได้ท าการวิจัยเรื่อง “พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุในภาพ
                       จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์รอบพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม”  งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของ

                       วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต  สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ  มหาวิทยาลัยศิลปากร  มีวัตถุประสงค์

                       เพื่อศึกษารูปแบบของพระเมรุมาศ  พระเมรุ  และเมรุสมัยรัตนโกสินทร์ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง  เรื่อง

                       รามเกียรติ์รอบพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทั้ง 7 ตอน คือพระเมรุมาศของท้าวทศรถ พระเมรุ
                       มาศของทศกัณฐ์ พระเมรุมาศของท้าวจักรวรรดิ พระเมรุมาศของพญาพาลี พระเมรุของอินทรชิต พระ

                       เมรุของบรรลัยจักร เมรุของนกสดายุ และศึกษาคติด้านฐานันดรศักดิ์ของพระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ

                       สมัยรัตนโกสินทร์ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง  เรื่องรามเกียรติ์รอบพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

                       ทั้งนี้ธศรได้สรุปความตอนหนึ่งว่า ฐานันดรศักดิ์ของบุคคลจะมีผลโดยตรงต่อรูปแบบพระเมรุ และภาพ

                       จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์เป็นการวาดภาพตามเนื้อหาวรรณคดี อันเป็นเรื่องของจินตนาการ แต่
                       การวาดภาพเล่าเรื่องก็ย่อมมีการสอดแทรกภาพของสภาพแวดล้อมหรือเหตุการณ์ในสมัยที่สร้างภาพ

                       จิตรกรรมนั้นๆ


                              งานวิจัยฉบับนี้ของ  ธศร  จึงมีการน าเสนอประเด็นที่มีความจ าเพาะเจาะจงไปที่การศึกษาภูมิ
                       หลัง  และลักษณะสถาปัตยกรรมของพระเมรุมาศ  พระเมรุ  และเมรุ  ในภาพจิตรกรรมเท่านั้น  โดยมิได้

                       กล่าวถึงองค์ประกอบอื่นๆ  ที่ปรากฏในภาพจิตรกรรมที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามเช่นเดียว

                       กันกับงานวิจัยของ จารุพรรณ ทรัพย์ปรุง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่ได้ท าการศึกษาเรื่อง

                       “การศึกษาลายผ้าในงานจิตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม” ในปี พ.ศ.2553 โดยมีวัตถุประสงค์
                       เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของลายผ้าไทยโบราณสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  และเพื่อวิเคราะห์ลาย

                       ผ้าไทยโบราณในงานจิตรกรรมฝาผนังภาพตัวละครส าคัญในเรื่องรามเกียรติ์  บริเวณซุ้มประตู  และมุข

                       ระเบียงของพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  งานวิจัยฉบับนี้เป็นการมุ่งค้นหาความรู้เกี่ยวกับลาย

                       ผ้าไทยโบราณสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  โดยมีการส ารวจลายผ้าไทยโบราณที่ปรากฏในงานจิตรกรรม

                       ฝาผนัง ภาพตัวละครส าคัญในเรื่องรามเกียรติ์ที่บริเวณซุ้มประตู และมุขระเบียงของพระระเบียงวัดพระ
                       ศรีรัตนศาสดารามจ านวน  57  ภาพ  เป็นการศึกษาลวดลายต่างๆ  ที่ปรากฏอยูบนผ้า  อาทิ  ลายกรอบ
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86