Page 82 - kpi20858
P. 82

39






                       ลายกรวยเชิง ลายกระจัง ลายกระหนก ลายก้าน ลายกุดั่น ลายเกราะเพชร ฯลฯ ซึ่งจารุพรรณ ทรัพย์ปรุง
                       สามารถรวบรวมไว้ทั้งสิ้น 30 ลาย


                              งานวิจัยข้างต้นเป็นตัวอย่างการวิจัยที่มุ่งศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แบบจ าเพาะเจาะจงถึงสิ่งที่

                       ปรากฏบนจิตรกรรมที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราราม  เมื่อกล่าวถึงงานวิจัยที่มีความโดดเด่น
                       และมีประเด็นของการศึกษาที่ครอบคลุม  โดยมีการอธิบายที่มาเชิงประวัติศาสตร์ เนื้อหา และรูปแบบ

                       ของงานจิตรกรรมที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามไว้อย่างลึกซึ้ง คืองานวิจัยของ รุ่งโรจน์ ภิรมย์

                       อนุกูล  ซึ่งด าเนินการวิจัยภายใต้โครงการ  “สยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว”  ใน

                       หัวข้อเรื่อง  “จิตรกรรมระเบียงคดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม”  ได้รับทุนวิจัยจาก  มูลนิธิประชาธิปก-
                       ร าไพพรรณี   ภายในผลงานวิจัยมีการน าเสนอให้เห็นหลักฐานเชิงเอกสารทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ

                       วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ในแถบลุ่มน ้าเจ้าพระยา ตลอดจนความเป็นมาของการสร้างระเบียงคด โดย

                       มีประเด็นส าคัญที่เกี่ยวข้องคือ  มีการน าเสนอแนวคิดและข้อสันนิษฐานต่างๆ  เกี่ยวกับภาพร่าง  และ

                       รายชื่อของช่างเขียนที่ได้ร่วมสร้างผลงาน  ทั้งนี้มีการวิเคราะห์มูลเหตุของการสร้างจิตรกรรมภาพ

                       รามเกียรติ์ว่าเป็นของบูชาในพระพุทธศาสนา  และจากความยาวของวรรณกรรมมีความเหมาะสมที่จะ
                       น ามาใช้เขียนในพื้นที่ซึ่งมีขนาดใหญ่  นอกจากนี้รุ่งโรจน์ยังสรุปอีกว่า  มีความเห็นสอดคล้องกับสมเด็จ

                       พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งกล่าวว่า การสร้างภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องที่

                       ผนังน่าจะรับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมทะเลสาบเขมรช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 นอกจากนี้ยังได้กล่าว

                       ถึงการล าดับภาพ การวางโครงสร้างในงานจิตรกรรม รูปแบบการเขียนทั้งบุคคล ทิวทัศน์ สถาปัตยกรรม
                       ทั้งปราสาท พระที่นั่ง ปราสาทบริวาร ต าหนัก ประตูเมือง และพระเมรุ ซึ่งบางครั้งมีการอ้างอิงของจริง

                       ร่วมสมัย  ด้านเนื้อหา  มีการวิเคราะห์เชิงประติมานวิทยา  เพื่ออธิบายความในภาพเกี่ยวกับฉากต่างๆ

                       ถือได้ว่า  เป็นงานวิจัยที่กล่าวถึงจิตรกรรมที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารารามได้อย่างละเอียด

                       ลึกซึ้ง  ทว่ามีความแตกต่างจากการศึกษาในครั้งนี้  ซึ่งท าการศึกษาจิตรกรรมที่พระระเบียงวัดพระศรี
                       รัตนศาสดารารามเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย  มุ่งท าการวิเคราะห์ภาพรวมของรูปแบบอันได้รับอิทธิพล

                       จากวิทยาการทางศิลปะของตะวันตก      เพื่อสะท้อนสภาพการณ์ทางศิลปะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ

                       พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเท่านั้น


                              จิตรกรรมที่วัดสุวรรณดารารามจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  และจิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถ
                       วัดสามแก้ว จังหวัดชุมพร ถือเป็นหัวข้อที่ส าคัญส าหรับการศึกษาวิจัยฉบับนี้ เนื่องจากจิตรกรรมที่วัดทั้ง

                       สองแห่งนี้ สร้างโดยพระยาอนุศาสน์ จิตรกร ช่างเขียนคนส าคัญแห่งยุค ผลงานของท่านเป็นภาพแทนที่
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87