Page 100 - kpi21595
P. 100
การเมืองและสังคมตามลำดับเพื่อชี้ให้เห็นว่าเงื่อนไขปัจจัยเหล่านั้นส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการสร้างสำนึก
พลเมืองหรือไม่อย่างไร
ปัจจัยนำเข้าแกนนำพลเมืองและโครงการส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระดับพื้นที่
“แกนนำพลเมือง” นับเป็นปัจจัยนำเข้าสำคัญของกระบวนการส่งเสริมความเป็นพลเมืองสู่คนใน
ชุมชน ภายใต้โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในระยะที่ 2 อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาเชิง
คุณภาพชี้ให้เห็นว่าคะแนนความเป็นพลเมืองของกลุ่มตัวอย่างที่คาดหวังว่าจะมีคะแนนความเป็นพลเมือง
เปลี่ยนแปลงไปและสูงขึ้นภายหลังจากแกนนำพลเมืองมีปฏิบัติการส่งเสริมความเป็นพลเมืองบางอย่างในพื้นที่
กลับเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ลดลงทุกด้าน จึงนำมาสู่คำถามสำคัญหนึ่งคือปัจจัยด้านแกนนำพลเมืองนั้นมี
ศักยภาพมากเพียงใดในการสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองแก่คนในพื้นที่ กรณีที่ผลการศึกษา
สหสัมพันธ์ระหว่างอำเภอกับการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองของประชากรตัวอย่างระหว่าง 10 อำเภอนำ
ร่องชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองของอำเภอนำร่องสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่มอำเภอ
คือ กลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองในระดับมาก ปานกลาง และ น้อยนั้น ในเรื่องนี้จะอธิบาย
อย่างไร เรื่องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่างกันในปฏิบัติส่งเสริมความเป็นพลเมืองระหว่างแกนนำใน
อำเภอที่มีการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองมาก ปานกลาง และน้อยหรือไม่ กล่าวคือ ในอำเภอที่มีการ
เปลี่ยนแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองที่สูงขึ้นนั้นจะมีแกนนำพลเมืองที่มีศักยภาพและมีโครงการเพื่อส่งเสริม
ความเป็นพลเมืองที่มีประสิทธิภาพแตกต่างออกไปจากอำเภอที่มีคะแนนความเปลี่ยนแปลงในระดับปานกลาง
และน้อยหรือไม่ เป็นต้น หากพบว่ามีความแตกต่างกันในเรื่องศักยภาพของแกนนำพลเมืองแต่ละอำเภอจริง
หรือพบว่าความแตกต่างของโครงการส่งเสริมความเป็นพลเมืองในแต่ละอำเภอส่งผลต่อคะแนนความเป็น
พลเมืองของคนในพื้นที่ให้สูงขึ้นหรือลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สิ่งนี้อาจนำมาสู่การพัฒนาแนวทางการส่งเสริม
ความเป็นพลเมืองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต
ผลการสัมภาษณ์แกนนำพลเมืองพบว่าแกนนำพลเมืองในอำเภอนำร่องเป้าหมายทั้ง 4 แห่งยังมี
ข้อจำกัดในการผลักดันการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองสู่คนในชุมชนหลายประการ
ข้อจำกัดประการแรก คือ เรื่องความรู้ความเข้าใจของแกนนำพลเมืองเกี่ยวกับบทบาทและ
ความสำคัญของพลเมืองและการมีส่วนร่วมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย แม้ผลการสัมภาษณ์จะ
ชี้ให้เห็นว่าแกนนำพลเมืองของอำเภอนำร่องเป้าหมายทั้ง 4 แห่งจะสามารถระบุได้ว่า พลเมือง คือใคร มี
ความสำคัญอย่างไร และพึงมีการแสดงออกอย่างไร กระนั้น ผู้วิจัยพบว่าความเข้าใจดังกล่าวมีลักษณะของการ
เลือกจดจำและเลือกถ่ายทอด ไม่ได้ครอบคลุมทุกมิติที่สำคัญของการเป็นพลเมืองตามหลักวิชาการดังที่สำนัก
ส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า ได้ถ่ายทอดให้แก่พวกเขาในการอบรมเสริมสร้างพลัง
พลเมืองระยะแรก ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นข้อจำกัดเชิงชีวภาพประการหนึ่งตามทฤษฎีแรงจูงใจทางการเมือง ที่
อธิบายว่ามนุษย์มักมีข้อจำกัดในเรื่องการจดจำเรื่องราวต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่ตนไม่มีความถนัดคุ้นชิน
ดังนั้น การเลือกที่จะจดจำเรื่องราวที่พวกเขาสนใจหรือมีประสบการณ์ร่วมด้วยมากที่สุดจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้
89