Page 99 - kpi21595
P. 99

สารพิษ ซึ่งดำเนินการในตำบลสะอาดสมบูรณ์เช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือกตำบลสะอาดสมบูรณ์ เป็นตำบล

               เป้าหมายในการเก็บข้อมูลเชิงลึกต่อไป
                       สำหรับอำเภอเสลภูมินั้น แกนนำพลเมืองอำเภอเสลภูมิก็เลือกดำเนินโครงการ “โรงเรียนพลเมือง” ใน

               การส่งเสริมความเป็นพลเมืองสู่คนในพื้นที่เช่นกัน โดยเลือกดำเนินการที่ตำบลขวาว นอกจากนั้นแกนนำ

               พลเมืองอำเภอเสลภูมิยังได้ดำเนินโครงการ “ขยะแลกใจ” และ “โครงการอบรมเยาวชนจิตอาสาเสลภูมิ” ด้วย
               โดยทั้งสองโครงการเลือกดำเนินการที่ตำบลขวาวเช่นเดียวกัน

                       ส่วนอำเภอปทุมรัตต์นั้น พบว่าแกนนำพลเมืองอำเภอปทุมรัตต์เลือกดำเนินโครงการที่แตกต่างออกไป
               กล่าวคือไม่ได้ดำเนินโครงการ “โรงเรียนพลเมือง” แต่เลือกดำเนินโครงการ “ถนนสายวัฒนธรรม” ในตำบล

               โพนสูง ตำบลโนนโพธิ์ ตำบลโนนสง่า และ ตำบลโนนทัน ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือก 4 ตำบลข้างต้นเป็นตำบล

               เป้าหมายในการศึกษาเชิงลึกต่อไป
                       จากข้างต้นจะเห็นได้โครงการโรงเรียนพลเมืองนั้นได้รับความสนใจจากแกนนำพลเมืองของอำเภอนำ

               ร่องหลายแห่ง ประกอบด้วย อำเภอพนมไพรม อำเภอเมืองร้อยเอ็ด และอำเภอเสลภูมิ ยกเว้นแต่เพียงอำเภอ
               ปทุมรัตต์ที่ไม่เลือกดำเนินโครงการโรงเรียนพลเมือง จึงเป็นที่น่าสนใจว่าเป็นเพราะ “โครงการโรงเรียน

               พลเมือง” หรือไม่ที่ทำให้อำเภอพนมไพร อำเภอเมืองร้อยเอ็ด และอำเภอเสลภูมิ มีการเปลี่ยนแปลงคะแนน

               ความเป็นพลเมืองในระดับมากและปานกลางตามลำดับ ซึ่งเรื่องนี้หากพิจารณาจากข้อมูลอำเภอที่ดำเนิน
               โครงการโรงเรียนพลเมืองของสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองในอำเภอนำร่องอื่นๆจะพบได้ว่าไม่ได้มีเพียง

               3 อำเภอนี้เท่านั้นที่ดำเนินโครงการโรงเรียนพลเมือง แต่มีถึงมากถึง 8 อำเภอจากทั้งสิ้น 10 อำเภอที่เลือก

               ดำเนินโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอพนมไพร อำเภอเสลภูมิ อำเภอโพนทอง
               อำเภอธวัชบุรี อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอหนองพอก และ อำเภอเกษตรวิสัย จากข้างต้นนำมาสู่คำถามว่า หาก

               โครงการโรงเรียนพลเมืองสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองได้จริงดังที่เกิดขึ้นกับอำเภอพนม
               ไพร อำเภอเมืองร้อยเอ็ด และอำเภอเสลภูมิ เพราะเหตุใดหลายอำเภอที่มีโครงการโรงเรียนพลเมืองจึงยังมีการ

               เปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองในระดับต่ำ เช่น อำเภอโพนทองและอำเภอสุวรรณภูมิ (โปรดดูตารางที่ 8)

               ประเด็นนี้นำมาสู่คำถามสำคัญคือ ความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองที่เกิดขึ้นนั้นอาจไม่สามารถอธิบายได้
               จากเหตุปัจจัยด้านการอบรมสำนึกพลเมืองเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องคำนึงถึงเหตุปัจจัยอื่นๆที่โอบล้อม

               ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองด้วย เนื่องจากอาจส่งอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองให้
               แตกต่างกันออกไป และจากการกรอบวิจัยที่พัฒนาขึ้นสำหรับการศึกษาชิ้นนี้ระบุไว้ว่านอกเหนือจากปัจจัย

               นำเข้า (input) และกระบวนการสร้างความเป็นพลเมืองของแกนนำพลเมือง (process) แล้ว ปัจจัยด้าน

               สภาพแวดล้อมที่ประกอบด้วยมิติต่างๆอย่างน้อย 3 ด้าน คือ มิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองนั้น ก็ควร
               ได้รับการวิเคราะห์ด้วยเช่นกันในฐานะเงื่อนไขปัจจัยที่โอบล้อมประชาชนและปฏิบัติการเพื่อสร้างความเป็น

               พลเมืองของแกนนำพลเมืองที่อาจส่งผลต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองของกลุ่มเป้าหมาย

               ดังนั้น ในส่วนถัดไปผู้วิจัยจะกล่าวถึงผลการศึกษาเชิงคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขปัจจัยข้างต้นตามลำดับ เริ่ม
               ตั้งแต่ปัจจัยนำเข้า กระบวนการสร้างความเป็นพลเมือง ของแกนนำพลเมือง สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ





                                                                                                        88
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104